2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

176 จัดเก็บ จ่าย หรือรับชำระเงินของวัดตามระเบียบกระทรวงการคลังให้ออกใบเสร็จรับเงิน หรือใช้ระบบ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการเก็บเงินและการใช้จ่ายเงินในวัด เพื่อป้องกันการเกิดข้อพิพาทและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชาววัดและสาธารณชนว่าการบริหารจัด การเงินของวัดนั้นถูกดำเนินอย่างเป็นระบบและโปร่งใส 5.2.3 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด ผลจากการวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุ และวัดในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา ในประเด็นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้ง คณะกรรมการวัด พบว่า ข้อเท็จจริงการจัดตั้งคณะกรรมการวัดเป็นอำนาจของเจ้าอาวาสเป็นผู้แทน ของวัดเนื่องจากวัดเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสในฐานะผู้แทนวัดจึงมีอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใดๆก็ได้ขึ้น เป็นไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดในรูปแบบของคณะกรรมการ แต่กรรมการที่ว่ามานี้มาจาก กลุ่มบุคคลที่เจ้าอาวาสเลือกเข้ามามิได้เปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร ซึ่งเป็นการผูกขาดอำนาจไว้ที่เจ้าอาวาสแต่เพียงผู้เดียว ส่งผลให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไม่มีการถ่วงดุลและตรวจสอบ อีกทั้งมียักยอกหรือการแสวงหาผลประโยชน์ในหมู่คณะกรรมการวัด ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของวัดและมีผลกระทบต่อความศรัทธาน่าเชื่อถือของ ประชาชน เมื่อพิจารณาจากกฎเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอน ไวยาวัจกร ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2503 “ข้อที่ 7 ในการแต่งตั้งไวยาวัจกร ของวัดใด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้น ปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มี คุณสมบัติตามความในข้อ 6 เมื่อมีมติเห็นชอบในคฤหัสถ์ผู้ใดก็ให้เจ้าอาวาสแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้นเป็น ไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ”ซึ่งเป็นการบัญญัติเพียงการแต่งตั้งไวยาวัจกรไว้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติถึงอำนาจในการจัดตั้งคณะกรรมการของวัดแต่อย่างไร ประกอบกับวัดมีความเชื่อมโยง กันกับสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตเป็นเวลายาวนาน หรือที่มักเรียกกัน โดยย่อว่า บวร (ซึ่งย่อมาจากบ้าน วัด โรงเรียน)ทั้งเป็นแหล่งกิจกรรมทางชุมชนและสังคม และอาศัยเงินบริจาคจากชุมชนในการทำนุ บำรุงวัดเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งเป็นศาสนาสถานที่ถือเป็นศูนย์รวมของชุมชนในการกระทำกิจกรรมต่างๆ ควรให้ประชาชนในชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการวัด เพื่อการ ดูแลทรัพย์สินของวัด และสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารของวัดให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ดังนั้น จากการศึกษาจากงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการเงินและการแต่งตั้งคณะกรรมการ ของวัด ทฤษฎีการมีส่วนร่วม และการศึกษาเปรียบเทียบกับแนวทางการบริหารจัดการโดยการแต่งตั้ง คณะกรรมการในมัสยิดของศาสนาอิสลามและโบสถ์ของศาสนาคริสต์ พบว่า ทั้งสองศาสนาต่างให้ ความสำคัญกับผู้นำสูงสุดในองค์กร แต่มีการตรากฎหมาย เช่น ธรรมนูญแห่งสภาคริสตจักร ค.ศ.1998

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3