2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

18 การบริหารจัดการการเงินของวัด เกิดความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของพุทธศาสนิกชนซึ่งการ บริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด 3. ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด ผู้บริหารวัดประกอบด้วย เจ้าอาวาส ไวยาวัจกรและหรือคณะกรรมการวัด มีอำนาจหน้าที่ตามที่ เจ้าอาวาสแต่งตั้ ง 2 โ ดยเฉพาะตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในการปกครองและการ บริหารจัดการกิจการต่างๆ ภายในวัดและเปรียบเสมือนประมุขของฝ่ายบริหารของวัดโดยกำหนดให้เจ้า อาวาสมีอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่18 พ.ศ.2536ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจก ร 3 สามารถแต่งตั้งบุคคลที่ตนเห็นว่าสมควร ขึ้นเป็นไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดในรูปแบบกรรมการ วัด เช่น เครือญาติหรือผู้ใกล้ชิดที่ไม่มีความรู้ความสามารถขึ้นมาทำหน้าที่เป็นกรรมการวัด ส่วนใหญ่จะ ดูแลกิจกรรมภายในวัด การจัดงานต่างๆ เช่นงานกฐิน ทอดผ้าป่าสามัคคี การดูแลปรับปรุงพัฒนาวัดและ การดูแลทรัพย์สินและเงินของวัด รายรับ-รายจ่าย การทำบัญชี การตรวจสอบผลประโยชน์ของวัด จึง นำไปสู่ปัญหาความไม่โปร่งใสของการทำบัญชี จึงเป็นช่องทางนำมาสู่การยักยอกเงิน หรือการมี ผลประโยชน์ในกิจการงานของวัด (กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557) อีกทั้งไม่มีรูปแบบของการแต่งตั้ง ไวยาวัจกรคือ การกำหนดคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และความรับผิดที่ไม่มี ความเหมาะสม สืบเนื่องมาจากการที่กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่18 พ.ศ.2536ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอน ไวยาวัจกรไม่ได้กำหนดรายละเอียดไว้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องตัวแทนมา อนุโลมปรับใช้ ส่วนอำนาจของคณะกรรมการวัดไม่มีกฎหมายให้อำนาจคณะกรรมการวัดเหมือนกับ ไวยาวัจกร จึงมีผลทำให้เจ้าอาวาสสามารถที่จะแต่งตั้งบุคคลใดๆที่ตนเห็นว่าสมควรขึ้นมาทำหน้าที่เป็น กรรมการวัดได้ เมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์และอิสลามที่มีรายรับส่วนใหญ่มักได้มาจากเงินบริจาคที่เป็น แหล่งรายรับที่สำคัญที่สุดเช่นเดียวกับเงินบริจาคในพุทธศาสนา ซึ่งมีการบริหารจัดการเงินบริจาคใน โบสถ์ของศาสนาคริสต์และมัสยิดของศาสนาอิสลามมีความคล้ายที่ให้ความสำคัญกับผู้นำสูงสุดในองค์กร โดยการตรากฎหมายให้อำนาจชุมชนเช่น ธรรมนูญแห่งสภาคริสตจักร ค.ศ.1998 และพระราชบัญญัติ 2 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 23 การแต่งตั้ง ถอดถอนพระ อุปัชฌาย์ เจ้าอาวาสรองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม 3 กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่18 พ.ศ.2536ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ข้อ 7 ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรของ วัดใด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามความใน ข้อ 6 เมื่อมีมติเห็นยอบในคฤหัสถ์ผู้ใด ก็ให้เจ้าอาวาสแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้าคณะ อำเภอ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3