2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

19 การบริหารองค์กรอิสลาม พ.ศ.2540ที่เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโบสต์และมัสยิด โดย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานในคณะกรรมการบริหารการเงิน อันได้แก่คณะธรรมกิจของศาสนาคริสต์ และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในศาสนาอิสลาม คณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นเหล่านี้ประกอบไป ด้วยบุคคลหลายฝ่ายและถูกแต่งตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายแบ่งเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับ ภูมิภาคและระดับชาติ แต่พุทธศาสนามอบอำนาจให้เจ้าอาวาสแต่งตั้งคณะกรรมการในแต่ละฝ่ายขึ้นอยู่ กับอำนาจดุลยพินิจของเจ้าอาวาสเพียงผู้เดียว (กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557) อย่างไรก็ดี เมื่อวัดเป็นสถานที่ของชุมชน หากจะให้ชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร ของวัดเนื่องจากบ้านวัด โรงเรียน (หรือที่มักเรียกกัน โดยย่อว่า บวร) มีความเชื่อมโยงกันกับสังคมไทยมา ตั้งแต่อดีตเป็นเวลายาวนาน ทั้งเป็นแหล่งกิจกรรมทางสังคมซึ่งมีการบริจาคเงินเข้ามาบำรุงดูแลอยู่ ตลอดเวลา การบริหารซึ่งกระทำในรูปแบบคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มบุคคลที่เจ้าอาวาสเลือกเข้ามา มิได้เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการบริหาร เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้อำนาจชุมชน ทั้งที่วัดนั้น เป็นของชุมชนและเป็นของทุกคน ดังนั้นควรให้ประชาชนหรือชุมชนมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการบริหาร การเงินเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาวัดให้เป็นไปโดยสุจริตและโปร่งใส เพื่อนำเงินบริจาคไปใช้ประโยชน์ใน กิจการพระศาสนาตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค ซึ่งจะทำให้ผู้บริจาคเกิดความสบายใจและมั่นใจว่า เงินที่ได้บริจาคไปนั้นได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการพระศาสนาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ศึกษาเรื่องมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ของพระภิกษุและวัดในพุทธศาสนา ในประเด็นปัญหาการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุระหว่างอยู่ใน สมณเพศ ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้ง คณะกรรมการวัด ซึ่งศึกษาการได้มาซึ่งทรัพย์สินเฉพาะสังหาริมทรัพย์เท่านั้นที่ไม่ชัดเจน เพื่อปรับปรุง และพัฒนาการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้รับมาอย่างโปร่งใสและรัดกุมมากยิ่งขึ้นโดยผ่านกระบวนการ ทางกฎหมายให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ควรค่าแก่ความศรัทธา การเคารพนับถือและสร้างความ เชื่อมั่นให้กับประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาการได้มาทรัพย์สินในของพระภิกษุในสมณเพศ ปัญหาการบริหารจัดการ ทรัพย์สินของวัด และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด ซึ่งศึกษาเฉพาะ ทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มา ซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุในประเทศไทย 1.2.3 เพื่อศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการได้ทรัพย์สินมาของพระภิกษุ และวัดในพระพุทธศาสนา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3