2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

24 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวคิดหลัก ๆ คือ 1. แนวคิดทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Law Theory) และ 2. แนวคิดทฤษฎีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน นั้นเกิดขึ้นโดยรัฐ (positive rights) อธิบายได้ ดังนี้ 1. แนวคิดทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Law Theory) เชื่อว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ( natural rights) เป็นทฤษฎีที่ให้ ความสำคัญว่ากฎหมายที่ใช้บังคับในสังคมหรือรัฐได้นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ธรรมชาติ กล่าวคือกฎหมายนั้นต้องสอดคล้องกับหลักเหตุผลธรรมชาติเสมอและกฎหมายที่สมเหตุผลนี้จะบังคับ ใช้ได้ทุกแห่งและบังคับใช้ได้ตลอดไป เนื่องจากมนุษย์ทุกคนมีสิทธิในทรัพย์สินโดยกำเนิด สิทธินี้เกิด จากการกระทำของมนุษย์เอง โดยไม่อาศัยการรับรองจากรัฐ ในทางตรงกับข้าม กฎหมายใดที่ไม่ สอดคล้องกับพื้นฐานของกฎเกณฑ์ธรรมชาติย่อมอาจถูกโต้แย้งคัดค้านได้ การคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญาของทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติจึงอิงอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผลธรรมชาติ แนวคิดนี้ได้รับการ สนับสนุนจากนักปรัชญาชาวอังกฤษในยุคเรืองปัญญา เช่น จอหัน ล็อก (John Locke) ถือเป็นนักปรัชญาที่วางหลักการพื้นฐานในทฤษฎีสิทธิตาม ธรรมชาติ โดย John Locke ตีความเรื่องสิทธิมูลฐานของมนุษย์ในหนังสือเรื่อง Two Treatises ofGovernment รวมไปถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์ อันเป็นที่มาของหลักกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล (Private Property) John Locke อธิบายว่าเมื่อมนุษย์ใช้แรงงานของตัวเองเข้าไปผสมผสานกับ ธรรมชาติที่พระเข้าให้มาก็เท่ากับว่ามนุษย์ได้ทำให้เกิดสิ่งใหม่ และสิ่งนั้นควรเป็นสมบัติของมนุษย์ผู้ นั้น ทั้งนี้ ทฤษฎีของ John Locke ตั้งอยู่บนเงื่อนไข 2 ประการ คือ 1. บ่อเกิดแห่งสิทธิในทรัพย์สินแต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องเป็นการใช้เท่าที่เพียงพอและเป็น ธรรม 2. ต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของคนในสังคม (กุมพล ภิญโญสินวัฒน์, 2560) ดังนั้น การเกิดและการอ้างสิทธิในทรัพย์สินตามกรอบของ John Locke จึงต้องอยู่ภายใต้ เงื่อนไขของการคำนึงถึงผลประโยชน์ของบุคคลอื่นในสังคมด้วย 2. แนวคิดทฤษฎีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเกิดขึ้นโดยรัฐ (positive rights) เชื่อว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเกิดขึ้นโดยรัฐ (positive rights) รัฐเป็นผู้กำหนดว่าทรัพย์สินใด เป็นของใคร กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจึงเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐได้รับรองสิทธินั้นให้ แนวคิดนี้ได้รับการ สนับสนุนจากนักกฎหมายชาวเยอรมัน (ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย โพธิ์สุ, 2560) เช่น คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ได้อธิบายแนวคิดนี้ไว้ในหนังสือเรื่อง Das Kapital ว่า กรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินเป็นความสัมพันธ์ทางชนชั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของชนชั้นนายทุน ชนชั้นแรงงานไม่มี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3