2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
25 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินจึงเป็นสิทธิที่ชนชั้นนายทุนได้แย่งชิงมาจากชนชั้นแรงงา น (คาร์ล มาร์กซ์, 2549) ดังนั้นประเทศไทย แนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ยึดถือแนวคิดที่สองคือ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเกิดขึ้นโดยรัฐ (positive rights เป็น หลัก เนื่องจาก ทรัพย์สินใดเป็นของใคร ผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินรัฐเป็นผู้กำหนดและรับรองสิทธิ การกำหนดหลักเกณฑ์ของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ดังนี้ 2.1.1 การได้มาโดยทางนิติกรรม การได้มาโดยทางนิติกรรม เป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยอาศัยการแสดงเจตนาของบุคคล ทั้งสองฝ่าย ได้แก่ ผู้ให้โอนและผู้รับโอน โดยอาศัยสัญญาหรือนิติกรรมอื่น ๆ เช่น มรดก พินัยกรรม การให้โดยเสน่หา เป็นต้น สำหรับกรณีเกี่ยวกับลักษณะการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางนิติกรรมมีประเด็นที่ต้องกล่าว ในเบื้องต้นคือ ศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องในที่นี้คือคำว่า “นิติกรรม” ซึ่งมีนิยามอยู่ในมาตรา 149 ที่ บัญญัติว่า “นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่ง โดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ” นิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์มีมากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขาย รถยนต์ สัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนด สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินมีโฉนด สัญญายกโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ให้โดยเสน่หา สัญญาเช่าซื้อเครื่องเพชร พินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ฯลฯ อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงที่ มีนิติกรรมเกี่ยวข้องในนิติสัมพันธ์ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางนิติกรรมเสีย ทีเดียวเนื่องจากการพิจารณาว่าข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือไม่ ให้พิจารณาเพียงว่า “มีการกระทำที่ถือว่าเป็นนิติกรรมตามมาตรา 149 ที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์หรือไม่” ถ้าใช่ ย่อมถือว่า การกระทำนั้นเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ในขณะที่การวินิจฉัยเรื่อง “การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดย ทางนิติกรรม” ให้พิจารณาว่าบุคคลได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์เพราะเหตุที่มีนิติกรรมและนิติกรรมนั้นส่งผลให้ บุคคลได้กรรมสิทธิ์นั้นหรือไม่ ถ้าใช่ ย่อมถือว่าการได้มานั้นเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางนิติกรรม (ประมูล สุวรรณศร, 2498) สำหรับลักษณะการได้มาโดยทางนิติกรรม อาจจำแนกตามประเภทของทรัพย์เป็นกรณี อสังหาริมทรัพย์กับกรณีสังหาริมทรัพย์ ในที่นี้ศึกษาเฉพาะกรณีสังหาริมทรัพย์ กรณีสังหาริมทรัพย์ สำหรับกรณีการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางนิติกรรมในกรณี สังหาริมทรัพย์ มีข้อพิจารณา 2 ประการ ได้แก่ กรณีสังหาริมทรัพย์บางชนิดตามมาตรา 1302กับกรณี สังหาริมทรัพย์ทั่วไป (อานนท์ มาเม้า, 2562) กรณีสังหาริมทรัพย์บางชนิดตามมาตรา 1302 กฎหมายบัญญัติว่า“บทบัญญัติแห่งสาม มาตราก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งแพและสัตว์พาหนะด้วยโดยอนุโลม”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3