2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
26 จากมาตรา 1302 ย่อมเห็นได้ว่า ให้นำ “บทบัญญัติแห่งสามมาตราก่อนนี้” อันได้แก่มาตรา 1301 มาตรา 1300 และมาตรา 1299 มาใช้บังคับ “โดยอนุโลม” กับสังหาริมทรัพย์สามชนิดได้แก่ “เรือมี ระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป” “แพ” และ “สัตว์พาหนะ” การที่มาตรา 1302 ให้อนุโลมนำบทบัญญัติมาตรา 1299 ถึงมาตรา 1301มาใช้กับเรือมี ระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ จึงเท่ากับว่า สังหาริมทรัพย์สามชนิดดังกล่าวอยู่ภายใต้ แนวคิดเรื่องระบบทะเบียน การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งกรรมสิทธิ์จะไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำ เป็นหนังสือและจดทะเบียน การได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น การจดทะเบียนเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นเงื่อนไขหลักของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์โดย ทางนิติกรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงหลักการแสดงออกซึ่งทรัพยสิทธิในสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่ จำต้องแสดงออกผ่านระบบทะเบียนเช่นเดียวกับกรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ถือหลักการแสดงออกซึ่ง ทรัพยสิทธิโดยทางทะเบียน ดังนั้น การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยทางนิติ กรรมจึงให้ถือหลักและเหตุผลเดียวกันกับการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติ กรรมตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง (อานนท์ มาเม้า, 2562) กรณีสังหาริมทรัพย์ทั่วไป การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยทาง นิติกรรมนั้นไม่ได้ใช้ระบบทะเบียน ดังจะเห็นได้จากการที่มิได้มีการอนุโลมมาตรา 1299 วรรคสองมา ใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในกรณีนี้จึงมีความคล่องตัวมากเพราะเป็นไปตามนิติกรรมที่บุคคลกำหนด ขึ้นได้โดยอิสระตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ตัวอย่างนิติกรรมที่ทำให้บุคคลได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ใน สังหาริมทรัพย์ เช่น สัญญาซื้อขายสัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาให้ การแสดงเจตนาใช้เงินคราวสุดท้าย ของสัญญาเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์สัญญาขายฝาก การแสดงเจตนาไถ่สังหาริมทรัพย์ซึ่งขายฝาก ในสังหาริมทรัพย์ทั่วไป อาจมีสังหาริมทรัพย์บางชนิดที่ต้องมีการขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย แต่ทะเบียนในกรณีนี้ก็อาจมิใช่ทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์ หากแต่เป็นทะเบียนที่รัฐกำหนดไว้เพื่อ วัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่น เพื่อการควบคุมและจัดระเบียบการมีไว้ซึ่งทรัพย์นั้น เพื่อการจัดเก็บภาษี อากร ผู้มีชื่อในทะเบียนดังกล่าวจึงไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เสมอไปเจ้าของกรรมสิทธิ์อาจเป็น ผู้อื่นก็ได้ เพราะทะเบียนนั้นหาใช่ทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์ ตัวอย่างสังหาริมทรัพย์บางชนิดที่มีการขึ้น ทะเบียนแต่ไม่ใช่ทะเบียนกรรมสิทธิ์ เช่น รถยนต์ ปืน (สถิตย์ เล็งไธสง, 2550) แนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบกฎหมาย ทรัพย์สิน เนื่องจากการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะช่วยสร้างความชัดเจนและความมั่นคงแก่สิทธิใน ทรัพย์สินของประชาชน ช่วยให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้สังคมสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ดังนั้นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นการยืนยันสิทธิ์ทางทรัพย์สินตามกฎหมาย ซึ่ง มีผลให้เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิ์ในการครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นตามกฎหมายได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3