2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
27 อย่างถูกต้องและชอบธรรมอีกทั้งเป็นการมีกรรมสิทธิ์ชัดเจนช่วยลดความขัดแย้งและข้อพิพาทที่ เกี่ยวกับทรัพย์สิน เนื่องจากมีเอกสารแสดงถึงสิทธิ์และความเป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างชัดเจน 2.1.2 การได้มาโดยสัญญาให้ ในการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้รับการบริจาคนั้น มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การแสดงเจตนาบริจาคเข้าลักษณะของนิติกรรมแบบใดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งหาก กล่าวถึงการบริจาคนั้นการบริจาคตามนิยามของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ ให้ความหมายของการบริจาคว่า "สละให้ เสียสละ และ การสละ การให้ การแจก ความเสียสละ เป็น ธรรมข้อ 1 ในทศพิธราชธรรม": อันเป็นความหมายที่ใกล้เคียงกับ คำว่า "ให้" ซึ่งตามนิยามของ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้ความหมายของคำว่าให้ว่า "มอบ หรือ เป็นคำ ช่วยคำกริยา หรือชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์ของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีก คนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์นั้น "(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, n.d.) นอกจากนิยามตามพจนานุกรมแล้ว บริจาคยังมีความหมายใกล้เคียงกับสัญญาให้ในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ และจากการพิจารณาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยเรื่องการ ให้แล้ว การให้ถือเป็นสัญญาชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมในสมัยจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ให้ ความหมายของสัญญาให้ว่าเป็นสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ ตกลงโอนทรัพย์ของตนให้เปล่าแก่ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับให้ และผู้รับการให้ตกลงจะรับเอาทรัพย์นั้น ในส่วนของได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้รับการบริจาค แม้การบริจาคจะเสมือน เป็นการให้แบบหนึ่ง จะต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ ที่ประกอบกันจนเป็นสัญญาให้ ที่สมบูรณ์ และที่สำคัญการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่คาบเกี่ยวกับการบริจาค นั่นคือ การให้อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “การให้อันจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้ส่งมอบ” ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถนำมา เป็น ประเด็นในการวิเคราะห์เรื่องได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุได้ เนื่องจากผลของการบริจาค ทรัพย์สินจะถูกนำมาใช้ เพื่อดำรงพะพุทธศาสนาตามเจตนาของผู้บริจาคได้ ดังนั้นการ วินิจฉัยเรื่อง ของสัญญาให้จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ ลักษณะทางกฎหมายของการให้ ในเรื่องลักษณะของการให้นั้น มาตรา 521 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ บัญญัติว่า "อันว่าให้นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น " ดังนั้น จากมาตรา521 นี้ ให้จึงเป็น สัญญาชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยบุคคลสองฝ่ายคือผู้ให้และผู้รับในเรื่องลักษณะการให้นี้ได้มี ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้คำอธิบายไว้ ดังนี้ พระยาวิทุรธรมพิเนตุ ได้อธิบายว่า "การให้เป็นสัญญา ต้องมีการตกลงของทั้งสองฝ่ายมี คำเสนอและคำสนองรับตามหลักแห่งสัญญาธรรมดา ไม่ใช่แต่เพียงการกระทำของฝ่ายผู้ให้ฝ่ายเดียว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3