2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

28 เท่านั้นเป็นพอ และไม่จำเป็นว่าผู้ได้ทรัพย์จะต้องทำคำเสนอเสมอไป เพราะผู้ให้ทรัพย์อาจเป็นผู้ทำคำ เสนอให้ก่อน แล้วผู้รับทรัพย์สนองรับก็ได้ และเป็นสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ชนิดที่ไม่มีสินจ้างตอบแทน" (พระยาวิทฺรธรมพิเนตุ, 2554) ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ได้อธิบายว่า "สัญญาให้มีคู่สัญญาสองฝ่าย คู่สัญญาฝ่ายแรกคือ ผู้ให้ซึ่งเป็นบุคคลที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับให้ โดยไม่ได้รับ ค่าตอบแทนแต่อย่างใด ส่วนผู้รับเป็นบุคคลที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์โดยปราศจากค่าตอบแทนจากผู้ให้ ผู้รับต้องเป็นบุคคล จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ หากไม่ใช่บุคคลก็รับให้ไม่ได้ วัตถุแห่ง สัญญาให้คือทรัพย์สิน และวัตถุประสงค์ของสัญญาให้คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ หากผู้รับแสดงเจตนารับเอา ดังนั้น สัญญาให้ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน" (ไผทชิต เอกจริยกร, 2548) ศาสตราจารย์ไพจิตร ปุญญพันธุ์ ได้อธิบายว่า "สัญญาให้ คือ สัญญาที่มีวัตถุประสงค์ที่ ผู้ให้โอนทรัพย์สิน (หมายถึงโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน) ของตนให้โดยเสน่หาแก่ผู้รับและผู้รับยอมรับ เอาทรัพย์สินนั้น. เมื่อเป็นกรณีต้องด้วยมาตรา 521 (กล่าวคือ มีการเสนอสนองวัตถุประสงค์ของ สัญญาคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้โดยเสน่หา) ก็เกิดสัญญาให้แล้ว"(ไพจิตร ปุญญพันธุ์, 2548) ศาสตราจารย์ ดร.ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ ได้อธิบายว่า "การให้โดยเสน่หาเป็นสัญญา จึงเท่ากับเป็นนิติกรรมสองฝ่ายที่เกิดจากการเสนอของผู้ให้และการสนองของผู้รับที่ต้องตรงกัน มิได้ ต้องการแต่เพียงเจตนาของผู้ให้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ต้องการอะไรตอบแทนแต่เพื่อที่จะให้การให้ สำเร็จได้จำต้องอาศัยเจตนาของผู้รับสนองรับการให้ด้วย สัญญาให้ที่เสร็จเด็ดขาดไม่ก่อให้เกิดหนี้ใดๆ เลยไม่ว่าหนี้ต่อผู้ให้หรือหนี้ต่อผู้รับก็ตาม ผู้ให้เองก็ไม่มีหนี้หรือหน้าที่ใดๆในทางกฎหมายที่จะต้องให้ ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังจากการทำสัญญาก็ตาม ในส่วนของผู้รับนั้นได้ทรัพย์สินไปฟรีๆอยู่แล้ว หนี้ของ ผู้รับจึงไม่มียิ่งกว่าผู้ให้เสียอีก สัญญาให้โดยเสน่หาน่าจะจัดอยู่ในประเภทของสัญญาที่ไม่มี ค่าตอบแทน" (ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2559) สัญญาให้นั้นคือสัญญาชนิดหนึ่งที่ต้องมีองค์ประกอบของสัญญาทุกอย่างครบถ้วน เช่นเดียวกับสัญญาทั่วไป นั่นคือ สัญญาให้จะต้องมีองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาให้ ดังนี้ (1) คู่สัญญา สัญญาให้นั้นจำต้องมีคู่สัญญาสองฝ่ายคือฝ่ายผู้ให้และฝ่ายผู้ รับโดยฝ่ายผู้ให้หาก เป็นคนธรรมดาก็จะต้องมีความสามารถในการใช้สิทธิตามกฎหมาย และหากผู้ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล การให้นั้นก็จะต้องอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในตราสารจัดตั้ง ส่วนผู้รับการให้นั้น หากเป็น บุคคลธรรมดาก็สามารถรับการให้ได้ เว้นแต่ การให้ที่จะส่งผลให้ผู้รับต้องมีภาระติดพันตามมา ในบาง กรณี เช่น กรณีของผู้เยาว์ หรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ ก็อาจต้องได้รับความยินยอมจากศาล หรือผู้ พิทักษ์เสียก่อนจึงจะรับการให้นั้นๆได้ ส่วนผู้รับการให้ที่เป็นนิติบุคคลก็สามารถที่จะเป็นผู้รับการให้ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3