2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
30 กลฉ้อฉล คือ การที่บุคคลหนึ่งกระทำการหลอกลวงบุคคลอีกคนหนึ่งจนทำให้เข้าใจ ข้อเท็จจริงผิดไปจากความจริงจนมาแสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรม ซึ่งหากการทำกลฉ้อฉลนั้นถึงขนาดก็ จะมีผลให้การแสดงเจตนานั้นตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 159 ซึ่งอาจถูกบอกล้างได้ (ศนันท์กรณ์ โสตถิ พันธุ์, 2559) การข่มขู่ คือการที่บุคคลหนึ่งสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้ถูกข่มขู่จนต้องตัดสินใจ แสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมหรือต้องยอมรับภาระที่หนักกว่าปกติจากการเข้าทำนิติกรรมนั้นาผลคือจะ ทำให้การแสดงเจตนาโดยการถูกข่มขู่ตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 164 (ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2559) รูปแบบของการให้ : การส่งมอบ ความสมบูรณ์ของการให้ เมื่อผู้ให้และผู้รับมีเจตนาเสนอสนองต้องตรงกันในการทำ สัญญาให้แล้วนั้น ประการถัดมาที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญาให้นั้นมีผลสมบูรณ์แล้วหรือไม่ เนื่องจาก การทำสัญญาให้นั้นคู่สัญญาอาจมีการกำหนดเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรืออาจเป็นการทำสัญญาให้ ทรัพย์สินในอนาคต หรือเป็นการให้ทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของผู้ให้ไว้ หรือกฎหมายอาจมีการกำหนดรูปแบบ การทำการให้ไว้ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลทำให้สัญญาให้ยังไม่มีผลสมบูรณ์จึงจำต้องมีการพิจารณา ถึงการ ส่งมอบทรัพย์สิน การส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ คือ การที่ผู้ให้กระทำการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมี วิธีการส่งมอบแตกต่างกันไปตามสภาพของทรัพย์สินที่ให้ กล่าวคือ หากเป็นสังหาริมทรัพย์ก็อาจส่ง มอบโดยการโอนการครอบครองทรัพย์สินนั้นไปยังผู้รับ คือ อาจส่งให้ถึงมือแต่หากเป็น อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้นก็จะต้องทำการให้กันเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา 525 และเมื่อกระทำการดังว่าแล้วการให้นั้นก็ไม่ต้องส่งมอบ ทรัพย์สินให้แก่กันอีก และหากเป็นการให้ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ เช่น สิทธิอันมีหนังสือตราสาร จะต้องใช้วิธีส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับ และต้องมีหนังสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วย โดยไม่ ต้องมีการส่งมอบของจากมืออีก จะเห็นว่าการให้ทรัพย์สินที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ และการให้หนังสือตราสาร เป็นการกำหนดวิธีการให้ที่เป็นข้อยกเว้นจากการที่ กฎหมายกำหนดให้การให้ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กันตามความในมาตรา 523เนื่องจากการให้ใน ลักษณะดังกล่าวถือเป็นการที่ผู้ให้ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ให้แก่ผู้รับไปแล้ว ดังนั้น จึงใช้ ทดแทนการส่งมอบของโดยพฤตินัยได้ ดังนั้น นักวิชาการทั้งหลายได้อธิบายเรื่องการให้ว่า การให้มีลักษณะเป็นสัญญาที่ต้องมี คู่สัญญาสองฝ่าย คือผู้ให้และผู้รับต้องมีเจตนาตรงกัน คือ ผู้ให้มีเจตนาที่จะให้ทรัพย์สินและผู้รับมี เจตนาที่จะรับเอาทรัพย์สินนั้นและเห็นว่าสัญญาให้เป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน เพราะเป็นการให้โดย เสน่หา อีกทั้งยังเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เนื่องจากเฉพาะผู้ให้เท่านั้นที่มีหน้าที่ต้องกระทำตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3