2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
31 สัญญาให้ คือ ส่งมอบทรัพย์สินหรือโอนกรรมสิทธิ์ และเปสัญญาให้โดยเสน่หาที่เสร็จเด็ดขาดแล้วไม่ ก่อให้เกิดหนี้ใดๆเลยไม่ว่าต่อผู้ให้หรือผู้รับ 2 . 2 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารศาสนสมบัติในวัดของพระพุทธศาสนา วัดเป็นองค์กรมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย และมีลักษณะเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ประเภทให้บริการแก่ชุมชน และเป็นองค์กรที่ได้รับ การสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึง แหล่งที่มาของเงินหลักแหล่งหนึ่งมาจากเงินบริจาค การบริหาร จัดการเงินของวัดด้วยความโปร่งใสจึง เป็นที่จำเป็น การวางกรอบการบริหารการเงินให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการดำเนินการวัด จะช่วยให้การกำกับดูแลวัดมีกรอบแนวทางที่ชัดเจนและสร้างความเชื่อมั่นของวัดจากสาธารณะชน นำไปสู่ความยั่งยืนในการพัฒนาของวัดและพุทธศาสนาในระยะยาวได้ 2 . 2 . 1 วิวัฒนาการและความหมายของการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด วิวัฒนาการของการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด การบริหารจัดการเงินของวัดเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้คงเนื่องด้วยระบบ การเงินเข้ามามีอิทธิพลต่อวัด ประกอบกับเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการคณะสงฆ์ ขึ้น 2 ครั้ง วัดซึ่งต้องอยู่ภายใต้นโยบาย คำสั่งกฎ ระเบียบของกฎหมายคณะสงฆ์ในแต่ละฉบับ จึงเป็น สาเหตุให้การบริหารจัดการเงินของวัดเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าในยุคแรกที่การเงินเข้ามามี บทบาทกับวัด ได้มีการวางรากฐานการบริหารจัดการเงินของวัดไว้อย่างเป็นระบบแล้วก็ตาม แต่ใน ปัจจุบันวัดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในกรุงเทพและภูมิภาคทั่วประเทศ มหาเถรสมาคมหรือกรมการ ศาสนาไม่สามารถที่จะดูแลควบคุมได้อย่างทั่วถึง และที่สำคัญพื้นฐานของการบริหารจัดการการเงิน ของวัดโดยทั่วไปอาจจะยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ (กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557) เนื่องจากการงดความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางศาสนาของรัฐในสมัยรัชกาลที่ 5ทำให้วัด ขาดรายได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงใช้นโยบายให้นำทรัพย์สินของวัดที่มีอยู่ เช่น ที่ดินมาหาผลประโยชน์เพิ่มพูนรายได้ให้กับวัด และให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปช่วยดูแลการหาเงิน รายได้ดังกล่าวได้กระทำสืบต่อกันมาและเป็นแหล่งที่มาของรายได้จนทุกวันนี้ ทรัพย์สินในรูปตัวเงิน ทำให้วัดมีเงินเพิ่มมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเห็นความจำเป็นในการบริหาร จัดการการเงินของวัด เพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหวและจำนวนทรัพย์สินของวัดจึงให้กระทรวงธรรม การเข้าควบคุมการเงินผลประโยชน์ของวัด ด้วยการเก็บรักษาและสั่งจ่ายเงินผลประโยชน์ของวัด ออก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของวัดโดยความเห็นชอบของพระมหากษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงธรรมการจึงได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจผลประโยชน์และผู้จัดการผลประโยชน์หรือไวยาวัจกร ทำหน้าที่เสมือนผู้จัดการเงินผลประโยชน์วัด ตลอดจนให้กรมสังฆการีทำหน้าที่รักษาเงินค่าเช่าและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3