2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
32 เงินกัลปนาของวัดหลวงที่สำคัญ ต่อมาไวยาวัจกรและเจ้าหน้าที่ของรัฐเริ่มขาดประสิทธิภาพเกิดการ ทุจริตขึ้น รัชกาลที่ 5 จึงให้กระทรวงธรรมการแต่งตั้งมรรคนายกขึ้นทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเงิน ผลประโยชน์แทน โดยการเก็บรักษาและจ่ายเงินผลประโยชน์เฉพาะวัดหลวงที่สำคัญ ซึ่งประสบ ความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นการแต่งตั้งมรรคนายกวัดจึงได้ขยายวงกว้างไปยังวัดหลวงอื่นๆ เมื่อเป็น เช่นนี้รัชกาลที่ 5 จึงให้กระทรวงธรรมการออกข้อบังคับสำหรับมรรคนายกเกี่ยวกับเงินกัลปนาขึ้น โดย ให้อำนาจแก่มรรคนายกในการจ่ายและเก็บเงินผลประโยชน์วัด เว้นแต่เงินฝากให้ธนาคาร แต่อำนาจ ของมรรคนายกจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าอาวาสด้วย นอกจากนี้มรรคนายกจะต้องทำหน้าที่ ลงบัญชีการเงินของวัดให้รัฐบาลตรวจสอบเสมอ พอสิ้นปีก็จะต้องทำบัญชีรายรับ -รายจ่ายยื่นต่อ กระทรวงธรรมการ เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การจัดการการเงินของวัดได้รับการ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จากเดิมเป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารจัดการการเงินของวัดโดย กรมการศาสนาเป็นผู้ออกกฎกระทรวงควบคุมดูแล แต่มิได้เข้ามาก้าวก่ายในการบริหารจัดการเหมือน อย่างที่กระทรวงธรรมการเคยปฏิบัติมา เพียงทำหน้าที่ในการกำหนดแบบทะเบียนบัญชีแบบพิมพ์ อื่นๆ และให้คำแนะนำแก่วัดในการจัดการการเงิน ตลอดจนการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของวัด ส่วน การบริหารจัดการเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสแต่ละวัด ปัจจุบันนี้แต่ละองค์กรเล็งเห็นความสำคัญของมนุษย์ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด องค์กรจะประสบความสำเร็จได้เพียงใดขึ้นอยู่กับบุคคลในการดำเนินการ การบริหารงานบุคคลเป็น หน้าที่ที่สำคัญในองค์กร ทั้งองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนล้วนอาศัยแนวคิดสมัยใหม่เพื่อการ บริหารงานบุคคลเพราะเป็นเรื่องการแสวงหาบุคคลรักษาไว้ และใช้ทรัพยากรที่เป็นคนให้บริหาร ทรัพยากรอื่นๆ ให้ได้ประโยซน์ต่อหน่วยสูงสุด(ทิพาวดี เมฆสวรรค์, 2556) นอกจากในการบริหาร จัดการจะประกอบด้วยเงิน (Money) วัตถุดิบ (Materials) เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (Machine or Equipment) แล้ว แรงงานหรือมนุษย์ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหาร (เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง, 2555) จึงสรุปได้ว่า การบริหารจัดการการเงินของวัดจึงควรมีกระบวนการบริหารงานบุคคล โดยมีนโยบายเรื่องบุคคลขององค์กรเป็นเงื่อนไขกำกับ กล่าวได้ว่ามนุษย์ในองค์กรจะเป็นที่มาของ ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรเลย การบริหารองค์กรเป็นสิ่งสำคัญเพราะฉะนั้นผู้บริหาร หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลวัดถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการบริหารจัดการแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ จะต้องทำการศึกษาถึงบุคคลผู้มีอำนาจจัดการศาสนสมบัติของภายในวัดคือเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้บริหาร ในระดับต้นที่มีความใกล้ชิดกับวัดมากที่สุดดังที่จะกล่าวต่อไป เนื่องจากบุคคลดังกล่าวมีความสำคัญใน กระบวนการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมทิศทางการบริหารของวัดไว้ทั้งหมด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3