2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

33 ความหมาย ธงชัย สันติวงษ์ ได้กล่าวว่า การบริหารคือ การทำงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปได้โดยอาศัย คนอื่นเป็นผู้ทำ (ธงชัย สันติวงษ์, 2539) โชติ บดีรัฐ ได้กล่าวว่า การบริหารหมายถึง กระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและ ประสานงานกัน โดยทุกฝ่ายเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร (โชติ บดีรัฐ, 2558) ศิริอร ขันธหัสถ์ กล่าว่า การบริหาร หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่2 คน คำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ปัจจัยที่สำคัญในการบริหารมี 4 ประการ ที่เรียกว่า 4 Ms ได้ อธิบายไว้ดังนี้ 1. คน (Man) เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการบริหารงาน เพราะองค์การต่าง ๆจำเป็นต้อง มีคนที่ปฏิบัติงาน ผลงานที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเกิดจากบุคคลที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ 2. เงิน (Money) องค์กรหรือหน่วยงานจำเป็นที่จะต้องมีงบประมาณเพื่อการบริหารงาน หากขาดงบประมาณ การบริหารงานก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมาย 3. ทรัพยากรหรือวัตถุ (Material) การบริหารจำเป็นต้องมีวัสดุอุปกรณ์หรือทรัพยากรใน การบริหารงาน หากหน่วยงานขาดวัสดุอุปกรณ์ก็จะเกิดปัญหาในการบริหารงาน 4. การบริหารจัดการ (Management) เป็นภารกิจของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาโดข ตรง เป็นกลไกและตัวประสานที่สำคัญที่สุดในการกำกับปัจจัยต่างๆ ทั้ง 3ประการ ให้สามารถดำเนิน ไปได้โดยมีประสิทธิภาพจนบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานตามที่ต้องการ (ศิริอร ขันธหัตถ, 2539) พีรศักดิ์ โตคำวรพจน์ กล่าวว่า คน (man) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ดำเนินการ ทุกอย่าง เป็นผู้คิด เป็นผู้กระทำ คนนับเป็นตัวแปรที่สำคัญ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหาร องค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 มาตรา 30 ที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นคณะกรรมการ มัสยิดได้นั้นนอกจากต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดแล้วก็จะต้องผ่านการกัดเลือกของสัปปุรุษที่มี อายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการบริหารมัสยิดกมาอุลอิสลาม ดังที่กล่าวว่า คณะกรรมการ มัสยิดได้มาโดยการคัดเลือกบุคคลที่มีจิตใจเสียสละ (พีรศักดิ์ โตคำวรพจน์, 2555) สรุป การบริหาร หมายถึง การทำงานขององค์กรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปด้วยทรัพยากรที่ สำคัญ ในการบริหาร คือ คน (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุ (Material) การจัดการ (Management)ผ่านกระบวนการทำงานกับผู้อื่นที่มีความต่อเนื่อง ให้ประสบความสำเร็จตาม จุดประสงค์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ( พระอธิการผจญ อาจาโร , 2553) ดังนั้น การบริหารและการจัดการวัด หมายถึง เจ้าอาวาส หรือสมภาร คือ ผู้นำของภิกษุ สงฆ์สามเณร และคฤหัสถ์ ที่มีอยู่ในวัด เจ้าอาวาสจึงมีความสำคัญที่สุดต่อความเจริญรุ่งเรือง สันติสุข และความมั่นคงของวัด โดยทำาหน้าที่เป็นผู้บริหารกิจการของวัด เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาดูแล แนะนำ สั่งสอนพระภิกษุ สามเณร และฆราวาสผู้อยู่ในวัดให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ให้อยู่ใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3