2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

34 ศีลธรรมอันดี ให้มีความสมัครสมานสามัคคีปรองดองกัน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติศาสนกิจดำเนิน กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของวัดให้สำเร็จไปด้วยดี มีประสิทธิภาพสูง และให้วัดเจริญ รุ่งเรือง สันติ สุขและมั่นคง เป็นศูนย์กลางชุมชนในการให้การศึกษาอบรมศีลธรรม จริยธรรม และภาวนาธรรม คือ วิปัสสนากรรมฐานแก่ชุมชน และประชาชนทั้งใกล้และไกลให้เป็นที่พึ่งทางใจแก่สาธุชนได้อย่างแท้จริง หลักการบริหารวัด คือ การอำนวยการซึ่งต้องมีการตัดสินใจให้ถูกต้องและเหมาะสม การบริหารงาน สมัยปัจจุบัน ผู้บริหารวัดต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล (Vision) ต้องทำางานเป็นทีม (Team Work) มี การวางโครงสร้างพื้นฐานที่ดี (Infrastructure) รับฟังเสียงมหาชน (Public Hearing) และพร้อมที่จะ รื้อปรับระบบ (Reengineering) (กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, 2538: 15) การบริหารจัดการวัดนั้น เจ้าอาวาสหรือสมภารวัดจะต้องมีทั้ง ศาสตร์ และ ศิลป์ “ศาสตร์” ในการบริหารและการจัดการ เช่น การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารบุคคล การ อำนวยการ การประสานงาน การประเมินผลงาน และการงบประมาณ ส่วน “ศิลป์” เช่น ความเป็น ผู้นำหรือภาวะผู้นำ มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน ศิลปะการพูด เป็นต้นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการ บริหารและการจัดการนี้ เจ้าอาวาสแต่ละวัดจะแตกต่างกันออกไป บางวัดก็มีความสามารถในการ ประสาน บางวัดก็มีความสามารถในทางปกครอง เป็นต้น 2 . 2 . 2 โครงสร้างการบริหารและปกครองสงฆ์ 1) โครงสร้างการบริหารคณะสงฆ์ การบริหารปกครองคณะสงฆ์มีการกำหนดวิธีการทางปกครอง การศึกษาในส่วนนี้จะ ได้มีการนำเสนอวิธีการบริหารและปกครองสงฆ์ในสมัยปัจจุบัน กล่าวคือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 8 และ มาตรา 9 และแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นพระประมุขของสงฆ์บริหารงานคณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคม เพื่อออกกฎระเบียบโดยมีสมเด็จ พระสังฆราชเป็นประธานมหาเถรสมาคมซึ่งประกอบด้วย สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะไม่เกิน 12 รูปเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม การปกครองคณะสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถร สมาคม การปกครองคณะสงฆ์ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มีเจ้าคณะใหญ่ (หน) จำนวน 4 หน ได้แก่ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เจ้าคณะเหนือและเจ้าคณะใหญ่หนใต้ ปกครอง ดูแลคณะสงฆ์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามลำดับ โดยมีเจ้าคณะปกครองรองลงมาต่อจากเจ้า คณะใหญ่ คือ เจ้าคณะภาคเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบล มีเจ้าอาวาสเป็นส่วน ปกครองต่ำสุด (กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557) สำหรับอำนาจหน้าที่ของ เจ้าคณะปกครองต่าง ๆ ให้มหาเถรสมาคมเป็นผู้ออก กฎระเบียบในการบริหารจัดการ ส่วนอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสได้มีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ ฉบับปัจจุบัน ลักษณะโครงสร้างองค์กรคณะสงฆ์ มีสายการบังคับบัญชาแบบแนวดิ่ง รวมศูนย์อำนาจ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3