2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
35 การบริหารจัดการอยู่ที่มหาเถรสมาคม โดยมีเจ้าคณะระดับต่าง ๆ เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการเป็นลำดับ ชั้นดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ระบบการบริหารจัดการมีลักษณะคล้ายการจัดการภาคราชการและมีระบบศักดิ นาโดยมีระบบอุปถัมภ์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในทุกขั้นตอนปฏิบัติ โดยมีกรมการศาสนาเป็นผู้รับ สนองงานและอธิบดีกรมการศาสนา เลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง ดังนั้นเอกสารทางราชการคณะ สงฆ์ส่วนใหญ่จะส่งผ่านจากเจ้าอาวาส โดยผ่านเจ้าคณะปกครองตามลำดับชั้น ได้แก่ เจ้าคณะตำบล เจ้า คณะอำเภอเจ้าคณะภาค เจ้าคณะหน และมารวบรวมไว้ที่กรมการศาสนา เพื่อนำเสนอที่ประชุมมหาเถร สมาคมพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย กรรมการมหาเถรสมาคม มีวาระการประชุมเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อบริหารกิจการงานคณะสงฆ์ และพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองด้านการศึกษา การเผยแผ่หลักพุทธธรรมและการสาธารณสงเคราะห์ของ พระพุทธศาสนาสืบไป (คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550) แผนผังโครงสร้าง องค์กรคณะสงฆ์ปัจจุบันแสดงดังภาพที่ 2 ภาพที่ 2 แผนผังโครงสร้างองค์กรคณะสงฆ์ปัจจุบัน (ที่มา: คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550) 2) โครงสร้างระบบองค์กรปกครองคณะสงฆ์ อํานาจการบริหารและปกครองคณะสงฆ์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย เพื่อการถ่วงดุล อํานาจตามแบบอย่างการปกครองของฝ่ายบ้านเมือง อํานาจทั้งสามนั้นคือ อํานาจนิติบัญญัติที่เรียกว่า สังฆาณัติอํานาจบริหารคณะสงฆ์และอํานาจตุลการ เรียกว่า อํานาจวินิจฉัยอธิกรณ์องค์กร ผู้ใช้อํานาจ ทั้งสามโดยตรง (คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550) ได้แก่ 1) สังฆสภา ซึ่งเทียบได้กับรัฐสภาของฝ่ายบ้านเมือง มีอํานาจหน้าที่ในการบัญญัติ สังฆาณัติหรือกฎระเบียบสําหรับใช้ในการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3