2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
36 2) คณะสังฆมนตรีเทียบได้กับคณะรัฐมนตรีของฝ่ายอาณาจักร คือ ทําหน้าที่เป็น คณะรัฐบาลบริหารกิจการคณะสงฆ์คณะสังฆมนตรีประกอบด้วยสังฆนายกและสังฆมนตรีอื่นไม่เกิน 9 รูป คณะสังฆมนตรีแบ่งงานภายใต้ความรับผิดชอบออกเป็น 4 องค์กร อับเทียบได้กับกระทรวง แต่ละ องค์กร มีสังฆมนตรีว่าการและสังฆมนตรีช่วยว่าการเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบองค์กรทั้งสี่ คือ องค์กรปกครอง องค์กรศึกษา องค์กรเผยแผ่และองค์กรสาธารณูปการ 3) คณะวินัยธร คือ ศาลของพระภิกษุมีอํานาจหน้าที่วินิจฉัยคดีความ ตีความกฎหมาย สังฆาณัติและระเบียบคณะสงฆ์ต่าง ๆ คณะวินัยธรแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา โครงสร้างการปกครองที่รวมศูนย์เช่นนี้มีผลอย่างมากต่อแบบแผนการปฏิบัติของพระภิกษุ และรวมถึงความเชื่อตลอดถึงการปฏิบัติของฆารวาสด้วย มองว่าองค์กรคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีปัญหา 3 ประการ ใหญ่ๆ(พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธัมมจิตโต), 2539) คือ โครงสร้างที่รวมศูนย์และไร้ประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐ และความเหินห่างจากสังคม ในส่วนนี้ผู้เขียนจะกล่างถึงอำนาจในอํานาจการบริหารและปกครองสงฆ์ที่เรียกว่า สังฆสภา ซึ่งเทียบได้กับรัฐสภาของฝ่ายบ้านเมือง ซึ่งคณะสงฆ์ดําเนินกิจการแล้วย่อมจัดเป็นองค์กรได้ เพราะการปกครองคณะสงฆ์รูปแบบเสมือนการรวมอำนาจ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงดํารงตําแหน่ง สกลมหาสังฆปรินายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทุกคณะ และมีหน่วยบัญชาการคณะสงฆ์หรือศูนย์รวม อํานาจการปกครอง คือ มหาเถรสมาคม เป็นสถาบันปกครองคณะสงฆ์สูงสุดจากนั้นมีหน่วยงานลดหลั่น กันตามสายงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งทุกหน่วยงานมีความสัมพันธ์กันและโยงเข้าสู่องค์กร ส่วนกลาง องค์กรปกครองคณะสงฆ์นั้นจัดเป็นองค์กรตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบสําคัญหลายประการ คือ ผู้บัญชาการ ระเบียบการ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็น ต้น ซึ่งอาจจัดรูปแบบองค์กรได้ (พระธรรมปริยัติโสภณ, 2548) ดังนี้ 1) ผู้บัญชาการ ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประมุขสงฆ์และเป็นผู้บัญชาการ คณะสงฆ์สูงสุด ทรงดํารงตําแหน่งสกลมหาสังฆปริยนายก ทรงมีอํานาจหน้าที่บัญชาการคณะสงฆ์ผ่าน ทางมหาเถรสมาคม ตามอํานาจกฎหมายและพระธรรมวินัยทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม 2) องค์กรปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง แยกออกเป็น 2 องค์กร คือ 2.1) มหาเถรสมาคมอํานาจหน้าที่มหาเถรสมาคม มหาเถรสมาคมมีอํานาจ หน้าที่ตามความในมาตรา 15 ตรีแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 ดังนี้ มาตรา 15 ตรีมหาเถร สมาคมมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม 2) ปกครองและ กําหนดการบรรพชาสามเณร 3) ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์การเผยแผ่ การ สาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ 4) รักษาหลักพระธรรมวินัยของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3