2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
38 2 . 2 . 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทย พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจําชาติไทย ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ได้เคารพนับถือ พระพุทธศาสนาเป็นสรณะแห่งชีวิต สืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน นับแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบันที่ ชาติไทย เรามีความมั่นคง ดํารงเอกราช มีอธิปไตยเป็นอิสระเสรีอยู่ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ก็ด้วยคนใน ชาติยึดมั่นอยู่ในสามัคคีตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมสร้าง สามัคคีธรรมระหว่างคนในชาติส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา ดังนั้น หลักธรรมคําสั่งสอนทาง ศาสนาจึงมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาและความมั่นคงของ ประเทศชาติ การบริหารกิจการพระศาสนานั้น เป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ตามพุทธบัญญัติแต่เนื่องจาก อาณาจักรและศาสนจักร ต้องประสานกัน เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติรัฐบาลในฐานะผู้รับสนอง พระราชภาระของพระมหากษัตริย์จึงเข้าไปมีส่วนร่วม โดยในวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ได้มีการแบ่งส่วน ราชการกรมการศาสนาเดิม ออกเป็น 2 หน่วยงาน(สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2566) คือ 1) กรมการศาสนา สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม และ 2) สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2535.) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) กรมการศาสนา กรมการศาสนาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงาน ของรัฐ ด้านศาสนา โดยการทำนุบำรุง ส่งเสริม และให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการด้าน พระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจ อันดี และสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้ง ดำเนินการเพื่อให้คนไทยนำ หลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดี มีคุณธรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ (กรมศาสนา, 2566) ดังต่อไปนี้ (1) ทำนุบำรุง ส่งเสริม เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม (2) เสริมสร้างศีลธรรม ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม (3) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจญ์ รวมทั้ง กฎหมายและ ระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง (4) ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถาน และศาสนวัตถุ (5) ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง และ สนับสนุนการดำเนินการขององค์การศาสนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3