2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

40 สำนักพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อ เสนอแนะการกำหนดนโยบายและแนวทาง การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเสนอต่อ นายกรัฐมนตรีและมหาเถรสมาคม ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม และส่งเสริม การนำหลักธรรมไปพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อสร้างให้นักเรียน ประชาชนเกิดความรู้คู่คุณธรรม เผยแพร่ และส่งเสริมศีลธรรม และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย (กรมศาสนา, 2566) 2) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และอีกส่วนหนึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นสำนักงา พระพุทธศาสนาแห่งชาติมีฐานะเทียบเท่ากับกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (กรมศาสนา, 2566) มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และ รัฐโดยการทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ คุ้มครองและส่งเสริมพัฒนางาน พระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนาสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การ สนับสนุนส่งเสริม พัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทย ฐานะ ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2) รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการบริหาร การ ปกครอง คณะสงฆ์ 3) เสนอแนวทางการกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา 4) ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา 5) ดูแลรักษา และจัดการวัดร้างและศาสนสมบัติกลาง 6) พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา 7) ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม 8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือ นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2566) 2.3 ทฤษฎีการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม คือ การที่ประชาชนหรือชุมชนสามารถข้าไปมีส่วนในการตัดสินใจในการกำหนด นโยบายพัฒนาท้องถิ่นและมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์จากบริการ รวมทั้งมีส่วนในการควบคุม ประเมินผลโครงการต่างๆของท้องถิ่น นอกจากนี้ยังได้ให้ความหมายของการมีส่ว นร่วมว่ามี 2 ลักษณะ คือ (ชิต นิลพานิช, 2532)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3