2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

41 1) การมีส่วนร่วมในลักษณะที่เป็นกระบวนการของการพัฒนาโดยให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการ พัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ ได้แก่ การร่วมกันค้นหาปัญหา การวางแผน การตัดสินใจ การ ระดมทรัพยากรและเทคโนโลยีท้องถิ่น การบริหารจัดการ การคิดตามป ระเมินผลรวมทั้งรับผลประ โยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ 2) การมีส่วนร่วมทางการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การส่งเสริมสิทธิและพลังอำนาจ ของพลเมืองโดยประชาชน หรือชุมชนพัฒนาขีดความสามรถของตนในการจัดการเพื่อรักษา ผลประโยชน์ของกลุ่ม ควบคุมการใช้และการกระจายทรัพยากรของชุมชนอันจะก่อให้เกิด กระบวนการ และโครงสร้างที่ประชาชนในชนบทสามารถแสดงออกซึ่งความสามารถของตนและ ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงกลไกการพัฒนาโดยรัฐมาเป็นการพัฒนาที่ประชาชนมีบทบาทหลักโดยการ กระจายอำนาจในการวางแผนจากส่วนกลางมาเป็นส่วนภูมิภาค เป็นการคืนอำนาจในการพัฒนาให้แก่ ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตนเอง หลักการสำคัญของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมี ดังนี้ 1) หลักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างทางราชการกับประชาชนโดยยึดความศรัทธา ของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานหรือต่อบุคคล 2) หลักการขจัดความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์และความคิดจะมีอิทธิพลต่อดำเนินงานพัฒนา เป็นอย่างมากเพราะจะทำให้งานหยุดชะงักและล้มเหลว 3) หลักการสร้างอุดมการณ์และค่านิยมในด้านความขยัน ความอดทน การร่วมมือ การซื่อสัตย์ และการพึ่งตนเอง เพราะอุดมการณ์เป็นเรื่องที่จะจูงใจประชาชนให้ ร่วมสนับสนุนนโยบายและ เป้าหมายการดำเนินงาน และอาจก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน 4) การให้การศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่องเป็นการส่งเสริมให้คนมีความรู้ความคิดตนเอง ช่วยให้ ประชาชนมั่นใจในตนเองมากขึ้น การให้การศึกษาอบรมโดยให้ประชาชนมีโอกาสทดลองคิด ปฏิบัติ จะช่วยให้ประชาชนสามารถคุ้มครองตนเอง ได้รู้จักวิเคราะห์เห็นคุณค่าของงานและนำไปสู่การเข้า ร่วมในการพัฒนา 5) หลักการทำงานเป็นทีมสามารถนำมาใช้ในการแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาได้ 6) หลักการสร้างพลังชุมชน การรวมกลุ่มกันทำงานจะทำให้เกิดพลังในการทำงานและทำให้งาน เกิดประสิทธิภาพ (โชติ บดีรัฐ, 2558) ดังนั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด เนื่องจากวัดเป็นนิติบุคคล กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดมีอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใดๆก็ได้ขึ้นเป็นไวยาวัจกร หรือผู้จัดประโยชน์ของวัดในรูปแบบของคณะกรรมการ แต่กรรมการที่ว่ามานี้มาจากกลุ่มบุคคลที่เจ้า อาวาสเลือกเข้ามามิได้เปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารทั้งที่วัดเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3