2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

42 สถานที่ของชุมชนและมีการบริจาคเงินจากคนในชุมชนเข้ามาส่งเสริมวัด ดังนั้นประชาชนในชุมชนจึง ควรเป็นปัจจัยสำคัญ และขณะเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการผูกขาดใช้อำนาจของเจ้าอาวาสโดย การแต่งตั้งเครือญาติหรือผู้ใกล้ชิดที่ไม่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการในเรื่องการจัดการ ทรัพย์สินของวัด จึงนำไปสู่ปัญหาความไม่โปร่งใสของการทำบัญชี จึงเป็นช่องทางนำมาสู่การยักยอก เงิน หรือการมีผลประโยชน์ในกิจการงานของวัด 2 . 4 หลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา หลักเสรีภาพในการทำสัญญาและหลัก อิสระในทางแพ่ง หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาและหลักเสรี ภาพในการทำสัญญาไม่ได้เกิดจากการ บัญญัติด้วยกฎหมายลายลักษณ์อักษรมาแต่เริ่มแรก แต่ได้เริ่มจากการพัฒนาจากหลักปรัชญาเรื่อง ปัจเจกนิยม (Individualism) ที่เป็นแนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดการพัฒนากลายมาเป็นหลักการทาง กฎหมายที่สำคัญในการทำสัญญาระหว่างคู่สัญญา 2 . 4 . 1 หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา ( Autonomy or Will ) หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนามาจากรากฐานความคิดทางปรัชญาว่าด้วยเรื่อง ปัจเจกชนนิยม (Individualisn) เจตนาที่มีความศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นหลักการพื้นฐานของเสริภาพตาม ธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเจตนามีความเป็นอิสระที่จะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่างๆตามที่แสดงออกตาม เจตนาที่ตนต้องการเท่านั้น ดังนั้น บุคคลทุกคนจึงมีอิสระที่จะผูกพันตนเองต่อผู้อื่นตามที่ตนต้องการ โดยเจตนาดังกล่าวของบุคคลจึงเป็นแหล่งกำเนิดและมาตรการทางสิทธิที่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางหนี้ ที่จะเข้าผูกมัดตนเองต่อผู้อื่น บุคคลจะไม่ถูกผูกพันในหนี้ที่ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยบุคคลจึงสามารถที่ จะถูกบังคับด้วยตัวของตนเองโดยเฉพาะการผูกมัดตัวเองด้วยนิติสัมพันธ์ที่ทำขึ้นด้วยสัญญาระหว่าง กัน เนื่องจากเจตนาเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่โดยคู่สัญญา หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาวางอยู่บนแนวคิดว่า บุคคลมีอำนาจต่อรองที่เท่า เทียมกันตามกฎหมาย สามารถข้าใจความได้เปรียบหรือเสียเปรียบของตนเองในการเข้าทำสัญญา กฎหมายจึงถือว่าคู่สัญญามีฐานะในการรับรู้และต่อรองเท่าเทียมกัน คู่สัญญาจึงมีอำนาจในการกำหนด เงื่อนไขหรือข้อความในสัญญาร่วมกัน ข้อตกลงคังกล่าวระหว่างคู่สัญญาเกิดจากการตกลงใจร่วมผูกพัน ในสัญญา โดยคู่สัญญาไม่ได้ถูกบังคับให้ตกลงใจและคู่สัญญาย่อมตกลงใจผูกพันในสัญญาดังกล่าวด้วย ความเข้าใจในข้อความตามสัญญาอย่างชัดแจ้งจึงตกลงใจเข้าผูกพันในสัญญาระหว่างกัน กรตกลงเข้า ทำสัญญาตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนานี้ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ยุติธรรมระหว่างคู่สัญญาแล้ว ดังนั้น สัญญาดังกล่าวทำขึ้นโดยสมบูรณ์ ก่อให้เกิดหนี้หรือนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมายแล้วย่อมมีผล บังคับระหว่างคู่สัญญาตามกฎหมายคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจำต้องผูกพันและปฏิบัติตามข้อกำหนดใน สัญญานั้น ตามหลัก "สัญญาต้องเป็นสัญญา" (ไชยยศ เหมะรัชตะ., 2527)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3