2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
43 การเข้าผูกพันระหว่างบุคคลในฐานะคู่สัญญาให้ความสำคัญกับการแสดงเจตนาเข้า ผูกพันที่วางอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับและเคารพต่อเสรีภาพของบุคคลว่าเป็นสิทธิที่มีมาตาม ธรรมชาติติดตัวมาแต่เกิด ไม่สนับสนุนให้มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเอกชนในการทำสัญญาระหว่าง เอกชนด้วยกัน แต่ในแนวทางของรัฐคงไม่อาจปล่อยให้เอกชนสามารถกระทำการใดๆ โดยไม่มี ขอบเขตได้ ดังนั้น ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาจึงมองว่า การที่คู่สัญญามีอำนาจเต็มที่ในการ สัญญาใดๆ นั้น กระทำได้ภายใต้บทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักความสงบเรียบร้อยและ ศีลธรรมอันดี ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐไม่อนุญาตให้เอกชนทำได้ถ้ากระทบต่อหลักดังกล่าว บทบาทของรัฐต่อหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนานั้น จะวางอยู่บนแนวคิดที่รัฐ จะต้องไม่ตรากฎหมายไปบีบบังคับต่อการทำสัญญาของเอกชน เอกชนสามารถวางกฎเกณฑ์ที่จะใช้บัง กับแก่สัญญาของตนได้ โดยที่กฎหมายจะเข้าไปเกี่ยวข้องเฉพาะในกรณีที่เห็นสมควรเท่านั้นหรือสัญญา ดังกล่าวกระทบต่อหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเท่านั้น จะเห็นว่า เจตนาของ เอกชนมีค่าเหนือกว่าสังคมหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการแสดงเจตนาของเอกชนเป็นตัวก่อให้เกิดหนี้ขึ้น หนี้มิได้เกิดจากอำนาจภายนอกอื่นใดซึ่งเป็นอำนาจทางสังคม" หรืออาจกล่าวได้ว่า "บุคคลต้องมีอิสระใน การทำสัญญาตามที่เขาต้องการ โดยปราศจากการแทรกแซง" (สุธาบดี สัตตบุศย์, 2522) หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาเป็นหลักที่ให้ความสำคัญแก่เจตนาในฐานะที่ เป็นตัวก่อให้เกิดสัญญา กำหนดเนื้อหาในสัญญาและเป็นกฎเกณฑ์ที่ก่อให้เกิดสภาพบังคับระหว่าง คู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาตลอดจนเรื่องปัญหาการตีความสัญญา (ดาราพร ถิระวัฒน์, 2542) 1) เจตนาเป็นตัวก่อให้เกิดสัญญา เจตนาเป็นกลไกสำกัญในขั้นตอนการเจรจาทำสัญญา สัญญาเกิดขึ้นตามหลักเสนอ สนองต้องตรงกัน การตกลงยินยอมที่จะให้เกิดผลผูกพันตามสัญญาต้องมีการแสดงเจตนาออกมาให้ ปรากฏภายนอกว่ามีความต้องการอย่างไร ไม่ว่าด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร เจตนาต้อง ประกอบด้วยความยินขอมสมัครใจที่บุคคลแสดงออกมา ซึ่งจะต้องไม่มีความผิดพลาดหรือบกพร่อง ของเจตนา 2) เจตนา เป็นตัวกำหนดเนื้อหาของสัญญา คู่สัญญามีเสรีภาพที่จะตกลงทำสัญญาตามที่ตนสมัครใจผูกมัด โดยจะกำหนด รายละเอียดเพื่อผูกพันระหว่างกันให้เหมือนหรือแตกต่างไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของ ไทย บัญญัติไว้ในบรรพ 3 เกี่ยวกับเอกเทศสัญญานั้น เป็นสัญญาที่ใช้กันสม่ำเสมอจนเป็นที่รู้จัก กฎหมายจึงบัญญัติสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาตลอดจนผล ของสัญญาไว้โดยเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงคู่สัญญาอาจทำสัญญากำหนดเนื้อหาแตกต่างไปจากที่ บัญญัติไว้ในกฎหมาย ว่า "สัญญาไม่มีชื่อ" แต่ทั้งนี้ ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวต้องมีลักษณะที่ไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มิเช่นนั้นสัญญาที่ทำขึ้นจะตกเป็นโมฆะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3