2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

44 3) เจตนา เป็นตัวกำหนดผลของสัญญา เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้วมีผลผูกพันคู่สัญญาตามที่ตกลงกัน คู่สัญญาต้องปฏิบัติการ ชำระหนี้ตามข้อผูกพันดังกล่าว หากมีกรณีเป็นที่สงสัยให้ใช้การตีความสัญญาเพื่อให้เป็นไปตามเจตนา ที่แท้จริงของคู่สัญญา นอกจากนั้น ความผูกพันตามสัญญาที่ได้ตกลงกันนี้จะไม่ถูกกระทบหรือ เปลี่ยนแปลง แม้จะมีการบัญญัติกฎหมายใหม่ออกมาใช้บังคับซึ่งมีหลักเกณฑ์จำกัดหรือขัดแย้งกับ สัญญาที่เกิดขึ้นก่อนก็ตาม สัญญานั้นยังมีผลผูกพันตามเจตนาของคู่สัญญาที่ได้ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามถ้ากฎหมายใหม่นั้นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ของประชาชน สัญญานั้นต้องถูกบังกับตามกฎหมายใหม่ที่ออกมาภายหลังที่เกิดสัญญาขึ้น เว้นแต่ กฎหมายจะบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าไม่ให้มีผลข้อนหลังบังคับแก่สัญญาที่เกิดขึ้นก่อนจะมีกฎหมายนั้น (ดาราพร ถิระวัฒน์, 2542) หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนานั้นมีผลทางกฎหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) ให้เสรีภาพในการทำสัญญา ( La Liberte Contractuelle) เป็นเรื่องของความ ยุติธรรม ดังนั้น กฎหมายจะต้องเปิด โอกาสให้คู่สัญญามีอิสระที่จะทำสัญญาได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะ เป็นในส่วนของเนื้อหาของสัญญา คู่สัญญาย่อมมีเสรีภาพที่จะทำสัญญาที่ตนสมัครใจผูกพันโดยสามารถ กำหนดข้อกำหนดหรือเงื่อนไขต่างๆลงในสัญญาได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม แม้ว่ากฎหมายจะกำหนด หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาไว้บ้าง โดยกำหนดสัญญาบางชนิดที่คู่กรณีอาจเลือกกระทำตามได้ เช่น กู้ยืม จำนอง จำนำ แต่คู่สัญญาก็มีเสรีภาพที่จะเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระในสัญญานั้นได้ หรือจะทำสัญญาใน รูปแบบใหม่ที่ไม่มีกำหนดในกฎหมายก็ยังสามารถทำได้ 2) การเคารพและปฏิบัติตามเจตนาทำสัญญา การทำสัญญาเกิดจากความยินยอมของ คู่สัญญาเป็นตัวก่อให้เกิดหนี้ระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น เมื่อทำสัญญาขึ้นแล้วจะต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ใน สัญญานั้น ตัวอย่างเช่น ประมวลแพ่งฝรั่งเศส มาตรา 1134 ได้บัญญัติว่า "ความตกลงที่ทำขึ้นโดยชอบด้วย กฎหมายย่อมมีผลเป็นกฎใช้บังคับแก่ผู้ที่ทำความตกลงนั้น" หมายความว่า สัญญาเมื่อทำขึ้นแล้วต้องมีการ ปฏิบัติตามจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขยกเลิกหยุดยั้งการปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้เว้นแต่คู่สัญญาตกลงกันให้ทำ เช่นนั้นได้ ศาลหรือกฎหมายไม่สามารถยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับสัญญานั้น (ไชยยศ เหมะรัชตะ., 2535) ดังนั้น หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนามีความสำคัญทางกฎหมายและเป็น พื้นฐานสำคัญในการกำหนดสัญญาและเกิดนิติสัมพันธ์ทางกฎหมาย ซึ่งช่วยให้พุทธศาสนิกชนและ พระภิกษุมีความเสรีภาพในบริจาคทรัพย์สินตามที่ต้องการและนำทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์เพื่อทำนุ บำรุงพระพุทธศาสนาตามเจตนาของผู้บริจาค โดยมีการคำนึงถึงความเป็นศักดิ์สิทธิ์ของการแสดง เจตนาของผู้บริจาค

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3