2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

45 2.4.2 หลักเสรีภาพในการทำสัญญา ( Freedom of Contract ) หลักเสรีภาพในการทำสัญญาเป็นหลักที่พัฒนามาจากแนวคิดจากหลักปัจเจกชนนิยม (Individualism) และหลักเสรีนิยม (Liberalism) ไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นมาด้วยกฎหมาย โดยตรง หลักการนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำสัญญาแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาสามารถตกลงเข้าทำ สัญญากับใครย่อมเป็นไปตามที่คู่สัญญาต้องการ เป็นเสรีภาพของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงหรือกำหนด สิทธิหน้าที่ของตนอย่างไรก็ ได้ หลักดังกล่าวให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่คู่สัญญาในการกำหนดชนิด แบบและเนื้อหาของสัญญาโดยที่รัฐจะเข้าไปแทรกแซงน้อยที่สุด (จำปี โสตถิพันธุ์, 2547) แนวความคิดในเรื่องหลักเสรีภาพในการทำสัญญานี้มีรากฐานมาจากนักคิดคนสำคัญที่มี ชื่อเสียงหลายท่าน เช่น Jeremy Bentham และ Mill นักปรัชญาเสรีนิยมสำนักอรรถประโยชน์ (Utilitarian School) สำนักความคิดนี้มีความเชื่อว่ารากฐานของกฎหมายหรือศีลธรรม คือ การสร้างประโยชน์ สูงสุดแก่บุคคลจำนวนมากที่สุด (Greatest happiness of the greatest number) จึงได้มีการ ประยุกต์หลักอรรถประโยชน์ในสาขากฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยถือว่า เสรีภาพทางสัญญาพาณิชย์ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เกิดความสุขมากที่สุดแก่เอกชนทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องให้ หลักประกันแก่เสรีภาพในการทำสัญญา (รองพล เจริญพันธ์, 2530) Adam smih ได้แสดงความเห็นในหลักเรื่องเสรีภาพของมนุษย์ไว้ในผลงานชื่อ"The Wealth of Nations" บุคคลทุกคนควรที่จะมีอิสระในการจัดการผลประ โยชน์ของตนเองด้วยวิถีทาง ของตนเอง (Every man should be free to pursue his own interest in his own way) เป็น หน้าที่ของกฎหมายที่จะต้องให้ความเป็นผลต่อเจตนาของคู่สัญญา และมีการจำกัดเสรีภาพในการทำ สัญญาอย่างน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (จักรี อดุลนิรัตน์, 2546) และรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Constitution, Art.I.S.10) ได้ปรากฎหลักว่าด้วยเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom of Contract) หรือการปรากฎขึ้นของหลัก ดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสภายหลังการปฏิวัติ โดยได้บัญญัติใน Napolconic-Decrec of March2 - 17, 1791 (1791), 2., Collection des Decrets, 147, มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลทุกคนมี เสรีภาพในการจัดการธุรกิจใดๆ ได้ตามที่ตนเห็นสมควร" อย่างไรก็ตาม จะไม่มีบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วย เรื่องเสรีภาพในการทำสัญญาอย่างชัดเจน ในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส แต่อ้างอิงได้ว่ามีหลัก ดังกล่าวอยู่ใน มาตรา 6 มาตรา 1131 และมาตรา 1133 ที่บัญญัติว่า "การตกลงร่วมกันของคู่สัญญา คือกฎหมาย (วรงค์พร จิระภาค, 2556)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3