2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
46 ความหมายของการมีเสรีภาพในการทำสัญญา หลักเสรีภาพในการทำสัญญามีหลักว่า บุคคลมีเสรีภาพที่จะเลือกวิธีการจัดการสัญญา และวางข้อกำหนดได้อย่างอิสระและสมัครใจตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน เป็นเสรีภาพในความหมายต่อไปนี้ 1) ไม่มีใครผูกพันเข้าทำสัญญา ถ้าเขาไม่เลือกที่จะเข้าทำสัญญานั้น (Nobody was bound to enter into any contracts at all if he did not choose to do so) 2) ในสังคมที่มีการแข่งขัน ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกบุคคลที่เขาจะเข้าทำสัญญาด้วย (In a competitive society everyone has a choice of persons with whom he could contract) 3) บุคคลสามารถทำสัญญาประเภทใดก็ได้ โดยข้อความที่เขาเลือก ( People couldmake virtually any kind of contract on any terms they choose)บทบาทของรัฐที่มี ต่อหลักเสริภาพในการทำสัญญานั้นอยู่ในลักษณะเดียวกับหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาคือ รัฐจะไม่ เข้ามาแทรกต่อการเข้าทำสัญญาระหว่างเอกชน ในกรณีที่การทำสัญญานั้นไม่ขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่กระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้น การที่รัฐจะเข้า มาจำกัดเสรีภาพในการทำสัญญานั้นควรจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมหรือความเสมอภาคของ คู่สัญญา ความเสมอภาคของคู่สัญญาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทั้งหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาและ หลักเสรีภาพในการทำสัญญาบรรลุผลได้ตามวัตถุประสงค์ของหลักทั้งสอง แต่ในทางข้อเท็จจริงนั้น ความไม่เสมอภาคระหว่างคู่สัญญาเกิดขึ้นอยู่เสมอ เมื่อรัฐจึงต้องเข้ามาจำกัดเสรีภาพของเอกชนใน การทำสัญญาเพื่อไม่ให้ปัจเจกบุคคลหรือเอกชนใช้เสรีภาพของตนจนเกินไปก่อให้เกิดการร บกวน กระทบกระเทือนหรือเกิดความเสียหายแก่สังคมและประชาชนโดยรวม (วรงค์พร จิระภาค, 2556) มาตรการในการจัดการการได้ทรัพย์สินมาของพระภิกษุ ในประเด็นของทรัพย์สินที่ได้มา โดยมีผู้ถวายสัญญาให้โดยเสน่หาซึ่งเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพียงฝ่ายเดียวที่ได้รับประโยชน์ในทรัพย์นั้นโดยที่ไม่ต้องเสียค่าตอบแทนแต่อย่างใดเลย และการได้มา โดยการซื้อซึ่งเป็นสัญญามีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องเสียค่าตอบแทนเพื่อ แลกกับประโยชน์ที่จะได้รับในลักษณะเดียวกัน เช่น ราคาแลกกับสินค้าในสัญญาซื้อขาย 2 . 4 . 3 หลักอิสระในทางแพ่ง หลักอิสระทางแพ่ง (Private of Autonomy) หมายถึง หลักการที่ให้อำนาจของเอกชน ในการตัดสินใจเกี่ยวกับขอบเขตทางด้านกฎหมายด้วยตนเอง ทั้งในทางเรื่องส่วนตัว และเรื่องของ ทรัพย์สิน เช่น การมีอิสระในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรืออิสระในการกำหนดเนื้อหาในนิติ กรรม เป็นต้น เป็นหลักการพื้นฐานในการทำนิติกรรมทุกชนิด ดังนั้น ในการได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยการ รับมา หรือโดยนิติกรรม เป็นนิติกรรมประเภทหนึ่ง จึงต้องอยู่ภายใต้หลักอิสระในทางแพ่งด้วย กล่าวคือ หลักการอิสระแพ่ง ถือเป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิของปัจเจกชนหรือสิทธิของพลเมือง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3