2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

47 (Civil Rights) "หลักอิสระในทางแพ่ง ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางเป็นอย่างมาก จึงกลายเป็นประเด็นที่ ถกเถียงกับในทางกฎหมาย เกี่ยวกับขอบเขตของหลักการดังกล่าว ฉะนั้นกฎหมายจึงจำเป็นต้องเข้ามา ตัดปรับ" เพื่อเป็นการจำกัดขอบเขตของหลักการดังกล่าวนั้น กฎหมายจึงเข้ามามีบทบาทที่สำคัญที่สุด ในการรับรู้และรับประกันสิทธิพื้นฐานนี้ เช่น การรับรู้สิทธิส่วนตัวในการกำหนดการตัดสินใจกระทำ การ หรือไม่กระทำการใดหนึ่ง และเสรีภาพในการคุ้มครองบริหารทรัพย์สินของตน เป็นต้น (ศนันท์ กรณ์ (จำปี) โสตพันธุ์, 2449) อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายจะให้การยอมรับหลักการอิสระในทางแพ่ง (Private ofAuto Nomy) แต่กฎหมายก็ยังมีการกำหนดส่วนได้เสียไว้เป็นขอบเขตของหลักการดังกล่าว เพื่อ ความสงบเรียบร้อยของสังคมและผลประโยชน์ของชาติ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151 ของไทย บัญญัติว่า "การใดมีวัตถุประสงค์เป็นต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้น วิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นั้นเป็นโมฆะ " หลักอิสระในทางแพ่ง และข้อจำกัด ได้ถูกนำมาปรับให้ใช้กับการทำนิติกรรมทุกประเภท โดยเฉพาะเรื่องของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ก็ได้นำเอาหลักการนี้เข้ามาบังคับใช้เช่นกัน โดยประชาชนมีอิสระภาพที่จะทำบุญหรือบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา หรือเสรีภาพที่จะบริจาคทาน แก่วัดใด หรือพระภิกษุรูปใดเป็นการเฉพาะ กำหนดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้เท่าที่ไม่ขัดกับ กฎหมาย (รองศาสตราจารย์ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์, 2559) ผู้วิจัยเห็นว่า หลักอิสระภาพในทางแพ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักเสรีภาพ เป็นหลักที่ว่าด้วย เรื่องสิทธิของเอกชนหรือปัจเจกชนมีความอิสระในการที่จะกำหนดขอบเขตกฎหมายด้วยตนเอง ทั้งใน เรื่องส่วนตัวและเรื่องทรัพย์สิน โดยให้เคารพเจตนาของเจ้าของกรรมสิทธิ์ 2 . 5 หลักการเป็นตัวแทนเจ้าอาวาสทำแทนนิติบุคคล ความเป็นนิติบุคคลนั้นเป็นผลของกฎหมายที่ได้กำหนดให้มีสภาพเสมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือมีความสามารถเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น มีความสามารถในการเข้าทำนิติกรรมสัญญา มีสิทธิเป็นเจ้าของในทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นต้น แม้แต่องค์การทางศาสนาที่ถูกจัดตั้งขึ้นก็มีทั้งที่มีความ เป็นนิติบุคคล 2 .5. 1 ความหมายของนิติบุคคล สำหรับความหมายของนิติบุคคลนั้น มีผู้รู้และนักกฎหมายได้ให้บทนิยาม หรือ ความหมายไว้และศาลฎีกาก็ได้มีการวางแนวคำพิพากษาเกี่ยวกับความหมายของนิติบุคคลไว้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วในส่วนที่มาหรือจุดกำเนิดของนิติบุคคล มีหลายทฤษฎีที่ได้กล่าวถึงแนวทางอันเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3