2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

48 หลักการบ่อเกิดของความเป็นนิติบุคคล เพื่อจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ และพิจารณาได้ว่าสิ่งไหน บ้างที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป 1) ความหมายของนิติบุคคล ความหมายของนิติบุคคล มีนักวิชาการและนักกฎหมายให้ความหมายของนิติบุคคล ไว้หลายท่านด้วยกัน ได้แก่ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ให้ความหมายไว้ว่า นิติบุคคล ไม่ใช่คน แต่เป็น เพียงสิ่งสมมติ ไม่ได้มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ ไม่มีตัวตน เพราะบุคคลในทาง กฎหมาย คือ คนเดียว หรืออาจเป็นหมู่ทรัพย์ที่มีอำนาจชอบธรรม และสามารถนำมาเป็นโจทก์ในศาล ได้(กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, 2468)และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ดร.ปรีดี พนมยงค์) ให้ความหมาย ว่า นิติบุคคล หมายถึง คณะบุคคลหรือกองทรัพย์สินที่รวบรวมกันเข้าตั้งขึ้นมีสภาพเหมือนบุคคล ธรรมดา(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, 2472) ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้อธิบายว่า นิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่ได้เข้ามารวมตัว กันทำกิจกรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่จำเป็นต้องมารวมกันทำ เพื่อความสำเร็จในกิจการที่บุคคลคน เดียวไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ เช่น กิจการที่จะต้องเข้ามาร่วมกันลงทุนจำนวนมาก เป็นต้นกฎหมายจึงจะ ยอมรับให้เข้ามารวมตัวกัน โดยมีสภาพบุคคล มีสิทธิและหน้าที่แยกออกต่างหากจากแต่ละคนที่ได้เข้ามา รวมกัน นอกจากนี้แล้วยังมีกองทรัพย์สินที่กฎหมายอนุญาตให้มีสภาพบุคคลได้ ซึ่งกรณีที่กฎหมายได้ กำหนดให้เป็นบุคคลขึ้นนี้ไม่ใช่บุคคลธรรมดาที่มีชีวิต จิตใจ จึงเรียกสภาพบุคคลนี้ว่า นิติบุคคล โดย จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้จึงจะมีสภาพเกิดขึ้นเป็นนิติบุคคลได้ นอกจากนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว อาจจะก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นก็ได้เช่นกัน (จิตติ ติงศภัทิย์, 2529) ศาสตราจารย์ ดร. สมทบ สุวรรณสิทธิ ได้อธิบายว่า นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มคณะ บุคคลหรือทรัพย์สิน ซึ่งไม่ใช่คนที่มีชีวิต ร่างกาย จิตใจอย่างคนทั่วไปที่เรียกว่าบุคคลธรรมดา โดย กฎหมายได้รับรองสถานะให้มีสภาพเป็นบุคคล มีสิทธิ หน้าที่ และอาจถือเอากรรมสิทธิ์ พร้อมทั้ง จัดทำนิติกรรม รับเอาทรัพย์ที่มีบุคคลอื่นยกให้ได้ ตลอดถึงการเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ฟ้องร้องคดีในศาล ได้อีกด้วย (สมทบ สุวรรณสุทธิ, 2499) ศาสตราจารย์ ดร. ประยูร กาจนดุล อธิบายความหมายของ นิติบุคคล ไว้ว่า เป็นกลุ่ม บุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่ได้จัดสรรตั้งไว้เป็นกองทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการอันใด อันหนึ่ง ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา แต่ให้มีสิทธิ และ หน้าที่ตามกฎหมายได้เช่นเดียวกันกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่โดยสภาพแล้วจะมีได้ เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น (ประยูร กาญจนดุล, 2538) ดังนั้น จะเห็นว่า นิติบุคคล หมายถึง คณะบุคคลที่ได้มารวมตัวกัน เพื่อดำเนินการสิ่ง ใด สิ่งหนึ่ง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งกลุ่มขึ้นซึ่งเรียกว่า นิติบุคคล แต่ไม่ใช่มนุษย์หรือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3