2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
49 บุคคลทั่วไป ที่มีชีวิต จิตใจ ร่างกาย ตัวตน แต่เป็นเพียงสิ่งสมมติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดย กฎหมายได้ให้อำนาจทั้งสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่โดยสภาพแล้วจะ มีได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น และการเข้าดำเนินกิจการหรือปฏิบัติงานของนิติบุคคลไม่สามารถทำ ด้วยตนเองได้ จะต้องมีบุคคลเข้าไปดำเนินกิจการหรือปฏิบัติงานเป็นผู้แทนของนิติบุคคลดังกล่าวด้วย ซึ่งถ้าพูดโดยสรุปแล้ว นิติบุคคล ก็คือบุคคลที่มีลักษณะและขอบเขตตามที่กฎหมายกำหนดขึ้นนั่นเอง 2 .5. 2 ที่มาและองค์ประกอบของนิติบุคคล 1) ที่มาของนิติบุคคล ที่มา ของนิติบุคคล กล่าวคือ ในสมัยโบราณยังไม่ปรากฏว่ามีนิติบุคคลเกิดขึ้น เมื่อ กล่าวถึงนิติบุคคลจะเข้าใจกันแต่เพียงว่าเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้จากกฎหมายลักษณะ บุคคลของโรมัน ที่ได้กล่าวถึงเฉพาะบุคคลธรรมดาเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้กล่าวถึงนิติบุคคลเลยและ ในยุคนั้นบุคคลธรรมดา ยังได้จัดแบ่งออกเป็นหลายสถานะแตกต่างกันออกไป เช่น ทาสในบางโอกาส ก็สามารถถือว่าเป็นทรัพย์ได้ (ประชุม โฉมฉาย, n.d.) เป็นต้น ในสมัยโบราณมนุษย์อยู่กับธรรมชาติ และอาจจะมีการรวมตัวกันบ้าง แต่วิถีชีวิตก็ จะอยู่กินกับธรรมชาติ เพราะยังไม่มีการดิ้นรนที่จะแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ รวมตัวกันเพื่ออำนวยความ สะดวกต่อมาจนถึงปัจจุบันเมื่อมีมนุษย์จำนวนเพิ่มมากขึ้น ก็เริ่มมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกัน เพื่อ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดการแลกเปลี่ยน การซื้อขายเกิดขึ้น การรวมตัวขยายจากระดับชนกลุ่ม น้อยและขยายวงกล้างขึ้นเติบโตกลายเป็นความสัมพันธ์ระดับโลก และเมื่อเข้าสู่โลกยุคเทคโนโลยี ติดต่อสื่อสารและมีระบบคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว จึงทำให้มนุษย์มีการติดต่อสัมพันธ์และรวมกลุ่มกัน มากขึ้น เพื่อทำการค้าขาย แลก เปลี่ยนหรือดำเนินกิจการอื่นใดระหว่างกันซึ่งเรียกว่าคณะบุคคล อนึ่ง การรวมกลุ่มกันเป็นคณะบุคคลดังกล่าวนั้น มีวัตถุประสงค์ของการรวมกันเพื่อ จะดำ เนินกิจการอย่างใด อย่างหนึ่ง ให้สำเร็จลุล่วง ซึ่งในระยะต่อมาการรวมกลุ่มของคณะบุคคลเพื่อ ดำเนินกิจการดังกล่าวมีการขยายวงกว้างและมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ในเวลาเดียวกัน กฎหมายในสังคมก็เริ่มมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามสภาพของสังคมที่เปลี่ยนไป จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ การพัฒนาแนวความคิดที่จะให้คณะบุคคลนี้มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน มีสิทธิ หน้าที่เสมือนเป็น บุคคลเพียงคนเดียว หรือมีสถานะเป็นบุคคลธรรมดา เพื่อให้เป็นตัวแทนดำเนินกิจการ หรือ กระทำ การในนามคณะบุคคลนั่งเอง(รชฏ เจริญฉ่ำ, 2540) ทั้งนี้ ในส่วนของกฎหมายว่าด้วยบุคคลในประเทศอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ใช้ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ หรือประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย ก็ได้แบ่งประเภทบุคคล ออกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา (Natural Person) และนิติบุคคล (Juristic Person, Legal Person,Artificial Person, Corporate Person, Juridical Person) ซึ่งสาระสำคัญของกฎหมายใน แต่ละประเภทก็ได้มีการบัญญัติไว้แตกต่างกันออกไปตามแนวคิดและระบบกฎหมายของแต่ละ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3