2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
50 ประเทศ แต่สำหรับกฎหมายว่าด้วยบุคคล เป็นกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ตั้งแต่สมัยประมวลกฎหมาย จัสติเนียนแล้ว โดยนักกฎหมายที่ชื่อว่า Gaius ทั้งนี้ทฤษฎีแนวคิดทางกฎหมายนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็น ระบบคอมมอนลอว์หรือระบบประมวลกฎหมาย น่าจะพึ่งเกิดขึ้นได้เพียงไม่กี่ร้อยปีเท่านั้น(ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, 2560)โดยทฤษฎีหรือแนวความคิดการเกิดขึ้นของนิติบุคคล มีดังนี้ 1) ทฤษฎีที่สมมติว่านิติบุคคลเป็นบุคคล (Fiction Theory) ทฤษฎีนี้มี แนว ความคิดเริ่มขึ้นในยุค Ulpian จนถึงสมัยพระสันตะปาปา Innocent ที่ 4 ซึ่งทฤษฎีนี้ได้รับการ พัฒนา ให้มีลักษณะโดดเด่นขึ้นโดย Savigny นักนิติศาสตร์ชาวเยอรมัน และ Professor Sir John Salmond นักนิติศาสตร์ชาวอังกฤษทั้งสองท่านนี้เป็นนักวิชาการที่ให้การยอมรับการเกิดขึ้นของนิติ บุคคลตามทฤษฎีนี้ โดยเฉพาะ ซาวินยี (Savigny) ซึ่งเป็นนักคิดคนสำคัญของสำนักกฎหมาย ประวัติศาสตร์ (Historycal Law School) ได้อธิบายไว้ว่า นิติบุคคลเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นเอง (Fiktionstheorie) เพราะนิติบุคคลหาได้มีตัวตนโดยแท้จริงไม่ แต่เป็นสิ่งที่กฎหมายได้บัญญัติหรือได้ กำหนดขึ้นให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเท่านั้น สำหรับทฤษฎีสมมติว่านิติบุคคลเป็นบุคคล จะเห็นว่านิติบุคคลเกิดขึ้นได้ เพราะ กฎหมายได้รับรองและบัญญัติไว้โดยได้แยกสถานะของนิติบุคคลธรรมดาออกมาจากบุคคล ธรรมดา และกฎหมายได้กำหนดให้นิติบุคคลได้รับการปฏิบัติเหมือนบุคคลธรรมดา ซึ่งตามความเป็น จริงแล้ว นิติบุคคลไม่ได้มีสภาพเป็นบุคคล เพียงแต่กฎหมายได้สมมติให้เป็นบุคคลขึ้น พร้อมให้มีสิทธิ และ หน้าที่เหมือนเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น(หยุด แสงอุทัย, 2560) 2) ทฤษฎีที่นิติบุคคลได้เกิดขึ้นและมีอยู่จริง (Realistic Theory หรือ Organic Theory)ตามทฤษฎีนี้เห็นว่า นิติบุคคลเป็นเรื่องที่กฎหมายได้รับรองกลุ่มคณะบุคคลที่เข้า มาร่วมกัน เพื่อจัดตั้งบริษัท มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรหรือผลประโยชน์ หรือในภาษาเยอรมันเรียกว่า “ reale Verbandsperson” หมายถึง สมาคม การรวมของกลุ่มบุคคล เช่น การจัดตั้งบริษัท ตาม ทฤษฎีนี้ถือ ว่าคณะบุคคลเมื่อมารวมตัวกันแล้ว นิติบุคคลจึงเกิดขึ้นและมีอยู่จริง เป็นต้น ส่วนผู้แทนนิติ บุคคลไม่ สามารถแยกออกจากนิติบุคคลได้ นิติบุคคลจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามสมมติของกฎหมาย เท่านั้น ( It is not a fictions legal creation) และได้มีนักนิติศาสตร์ชาวเยอรมัน Gierke และ Maitland เห็นด้วย และสนับสนุนแนวคิดตามทฤษฎีนี้ (พระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที), 2564) 3) ทฤษฎี Bracket Theory หรือ Symbolist Theory ทฤษฎีนี้เห็นว่า บุคคล ธรรมดาเท่านั้นที่มีสิทธิ (Right) และประโยชน์ (Interest) ส่วนกลุ่มคณะบุคคลที่รวมตัวกันนั้น เขาก็มี ผลประโยชน์กันทุกคน พร้อมมีความสัมพันธ์ต่อกันและต่อบุคคลภายนอกตามกฎหมาย แต่เป็น ความสัมพันธ์ที่มีความสลับซับซ้อน กฎหมายจึงเป็นแต่เพียงกลไก (Device) หรือสูตร (Formula) ที่จัดสรรหรือกำหนดรูปแบบของความสัมพันธ์ดังกล่าวที่มีความสลับซับซ้อน ให้เป็นระบบหรืออยู่ใน รูปแบบที่ง่ายขึ้น (พระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที), 2564)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3