2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
51 4) ทฤษฎีที่นิติบุคคลเกิดขึ้นได้เพราะอำนาจรัฐ (Concession Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้ ได้ยึดตามแนวคิดปรัชญาที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐ ( The Philosophy of Sovereign National State) เพราะเชื่อว่านิติบุคคลจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยกลไกอำนาจของรัฐเป็นผู้ จัดสรรทำให้ มีนิติบุคคลเกิดขึ้นได้ และมีกลุ่มนักกฎหมาย ซึ่งได้แก่ Savigny Dicey และ Salmond ที่ เห็นด้วย และสนับสนุนตามทฤษฎีดังกล่าวนี้ นอกจากทฤษฎีที่กล่าวมายังมีนักกฎหมายที่มีแนวคิดเกี่ยวกับนิติบุคคลอื่น ๆ อีก เช่น นักกฎหมายชาวอังกฤษ Sir Frederick Pollock ให้ความเห็นไว้ว่า นิติบุคคลจะต้องเป็นประธาน แห่งหน้าที่ และสิทธิ (Subject of Duties and Rights) ซึ่งมีบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งหรือหลาย คน ได้เข้ามา กระทำการแทนนิติบุคคล และนิติบุคคลต้องมีลักษณะการคงอยู่ที่ต่อเนื่อง (Continuous Legal Existence) โดยไม่ต้องไปยึดหลักตามอายุของบุคคลธรรมดา ซึ่งนิติบุคคลอาจมีอายุอยู่ถึงร้อย ปีก็ได้โดยผลของ กฎหมาย ทั้งต้องมีลักษณะเพื่อพันธกิจทางสาธารณะ (Public Functions) หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิด อรรถประโยชน์ต่อสาธารณะหรือผลประโยชน์ร่วมกันที่ชอบด้วยกฎหมายที่ เกี่ยวกับบุคคลธรรมดา (Lawful Common Interest of Natural Persons Concemed) (พระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที), 2564) ทั้งนี้ ทฤษฎีการเกิดขึ้นของนิติบุคคลดังที่กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปแนวคิดตาม ทฤษฎีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ (1) นิติบุคคลเป็นสิ่งสมมติที่ไม่เป็นจริง กล่าวคือ นิติบุคคล นั้นเกิดขึ้นมาได้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่กำหนดให้เป็นนิติบุคคล หรือเป็นแต่เพียงสิ่งที่ กฎหมายสมมติขึ้นเท่านั้น แต่หามีอยู่จริงไม่ และสภาพความเป็นนิติบุคคลก็อาจจะถูกกฎหมายถอน สภาพเมื่อใดก็ได้เช่นกัน (2) นิติบุคคลมีอยู่จริง กล่าวคือ นิติบุคคลมีอยู่อย่างแท้จริงไม่ใช่สิ่งสมมติขึ้น ลอย ๆ แต่นิติบุคคลสามารถแสดงเจตนาได้เหมือนบุคคลธรรมดา นิติบุคคลจึงไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายจะ สร้างขึ้นได้โดยพลการ กฎหมายจะมีหน้าที่เพียงแต่ทำการรับรองสภาพความมีอยู่ของนิติบุคคลซึ่งมีอยู่ แล้วโดยตนเองเท่านั้น (พระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที), 2564) ดังนั้น จะเห็นว่าจากทฤษฎีการเกิดขึ้นของ นิติบุคคล คือการรวมกลุ่มของคณะบุคคลที่ จะเข้ามากระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ การรวมกลุ่มของคณะบุคคลนี้มีสภาพเป็นนิติ บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่เสมือนบุคคลธรรมดา โดยมีกฎหมายรับรองสถานะไว้ เว้นแต่ สิทธิและหน้าที่ บางอย่าง ซึ่งโดยสภาพจะมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดา และมีผู้แทนของนิติบุคคล คนใด คนหนึ่ง หรือหลายคน ก็ได้ เป็นผู้แสดงเจตนาหรือกระทำการแทนนิติบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ เป็น โจทก์ จำเลยฟ้องร้องคดีต่อศาลได้ เป็นต้น และการกระทำของผู้แทน ดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะไปผูกนิติสัมพันธ์ กับบุคคลภายในหรือภายนอก หากเป็นการดำเนินตามวัตถุประ สงค์ของการก่อตั้งนิติบุคคลย่อมมีผลผูกพัน กับนิติบุคคลเสมอ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3