2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
52 2) องค์ประกอบของนิติบุคคล เมื่อคณะบุคคลมารวมกัน เพื่อดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้บรรลุ วัตถุประสงค์ และกฎหมายยังได้กำหนดให้มีสิทธิและหน้าที่ ซึ่งการที่กฎหมายจะรับรองคณะบุคคล หรือหน่วยงาน ใด ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ก็จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์บางประการว่าครบ องค์ประกอบของ ความเป็นนิติบุคคลหรือไม่ พร้อมทั้งได้จัดแบ่งประเภทของนิติบุคคลไว้อีกด้วย องค์ประกอบของนิติบุคคลในทางทฤษฎีมี 2 ประการ คือ ต้องมีการรวมตัวกัน เกิดขึ้น และการรวมตัวกันดังกล่าวต้องมีการจัดระเบียบของหน่วยงานหรือองค์กรของนิติบุคคลเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของการก่อตั้งนิติบุคคล ดังนี้ ประการที่หนึ่ง เป็นที่รวม (un ensemble) หมายถึง เป็นการรวมกันอาจจะเป็น บุคคลธรรมดา สมาคม บริษัท หรือเป็นนิติบุคคลมารวมกันขึ้นใหม่ หรือเป็นกลุ่มทรัพย์สินมารวมกัน เป็น มูลนิธิ และการรวมดังกล่าวต้องมีผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งสมควรได้รับการคุ้มครองหรือมีผล ประ โยชน์ทางทรัพย์สินร่วมกัน หรือทำธุรกิจ และอาชีพร่วมกัน เช่น สมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เป็นต้น (อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ, 2527) ประการที่สอง เป็นที่รวมและมีการจัดระเบียบ กล่าวคือ การรวมกลุ่มของคณะ บุคคล หรือทรัพย์สินเข้ามารวมกันแล้ว ไม่ได้ทำให้เกิดนิติบุคคลขึ้นเสมอไป เพราะจะต้องมีการ ดำเนินการจัดระเบียบต่าง ๆ ของการเข้ามารวมกันอีกด้วย คือ 1) การจัดระเบียบนั้นโดยมีจุดมุ่งหมายบางประการ กล่าวคือ การรวมกัน ของนิติ บุคคลย่อมมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทางการค้า ได้แก่ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน หรือมีจุดมุ่งหมายทางการเมือง ได้แก่ พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง หรือ จุดมุ่งหมายในเรื่องอื่น ๆ จะเห็นได้ว่าการรวมคณะบุคคลจึงเป็นเรื่องเฉพาะด้าน ซึ่งการรวมกลุ่มของ คณะบุคคลดังกล่าวต้องมีการจัดระเบียบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์นั้นต้องชอบด้วยกฎหมาย( คำพิพากษาของลากูร์ เดอ ก๊าสซาชิยอง แผนก คดีแพ่ง , 1954) 2) นิติบุคคลจะต้องมีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแลทำหน้าที่ในการกำหนด วิสัยทัศน์มี แผนการระยะสั้น ระยะยาว เพื่อกำหนดทิศทางขององค์กร และผลการดำเนินงานในด้านการ บริหารงานภายในและภายนอกขององค์กรนิติบุคคล โดยมีหน่วยงานหรือคนที่เข้ามาเป็นผู้แทนของ นิติบุคคลเพื่อทำหน้าที่ในการแสดงเจตนาหรือผูกนิติสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรตาม กระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น 3) นิติบุคคลจะต้องมีทรัพยากรในการดำเนินงานของนิติบุคคลเอง กล่าวคือ นิติ บุคคลจะต้องมีทรัพย์สิน บุคลากรดำเนินงาน และมีสิทธิในการบริหารจัดการโดยแยก ออกมาจาก บุคคลธรรมดา แต่เป็นสิทธิของนิติบุคคลในการดำเนินงานด้วยนิติบุคคลเองทิ้งสิ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3