2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

54 ข้อกำหนดของกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเรื่องสิทธิและหน้าที่ หรือการกระทำจะต้องมี ความสัมพันธ์ทางกฎหมายซึ่งเรียกว่า "ตัวการแห่งกฎหมาย" (Subject of Law)(อิสสระ นิติทัณฑ์ ประภาศ, 2527) 1.3 องค์กรหรือบุคคลผู้กระทำการในนามนิติบุคคล กล่าวคือ นิติบุคคลเป็นผลจาก การรวมตัวของกลุ่มบุคคลและทรัพย์สิน และมีกฎหมายรับรองให้มีสถานะเป็นบุคคลตามกฎหมาย เพื่อดำเนินกิจการหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนิติบุคคลขึ้น นิติบุคคลไม่สามารถดำเนินการหรือกระทำการได้ด้วยตนเอง จึงต้องมีองค์กรหรือบุคคลเป็นผู้กระทำ การแทนในนามนิติบุคคลตามสิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจหน้าที่ไว้ เช่น ประธานกรรมการหรือกรรมการบริษัท หัวหน้าองค์กรหรือหน่วยงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นต้น (อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ, 2527) กล่าวโดยสรุป ขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล มี 3 ประการ: คือ1) สิทธิ และหน้าที่ภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนิติบุคคล ตามข้อบังคับของนิติบุคคล หรือตามที่ กฎหมายกำหนดไว้ 2 การถือสิทธิ์ของนิติบุคคลจะต้องสอดคล้องกับกฎหมาย เช่น ถ้านิติบุคคล ต้องการจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการถือสิทธิ์ในที่ดิน ของนิติบุคคล เป็นต้น 3) สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลเหมือนบุคคลธรรมดา นอกจากนี้แล้วนิติบุคคล ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่งให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลประกอบกับนิติ บุคคลไม่มีจิตใจเหมือนมนุษย์ สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลจึงถูกจำกัดความตามความประสงค์ของ กฎหมาย หากจะดำเนินกิจการจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น และโดย หลักธรรมชาตินิติบุคคลไม่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคล ธรรมดาเท่านั้น เช่น นิติบุคคลจะถือสิทธิในครอบครัวไม่ได้ เพราะบุคคลธรรมดาเท่านั้นจึงจะมีสิทธิใน ครอบครัวได้ เป็นต้น (สมทบ สุวรรณสุทธิ, 2499) ดังนั้น จะเห็นว่า สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล จะกระทำการใดได้จะต้องมีบุคคล ธรรมดาเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคล โดยมีสิทธิและหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ หรือกิจการอัน ใดที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้นหรือ สิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายนอกก็ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นกัน แต่ก็มีข้อสังเกตบางประการแม้ว่ากฎหมายจะรับรองสถานะให้เป็นบุคคลตามกฎหมาย มีสิทธิ และหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แต่สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลก็มีข้อยกเว้นที่ไม่สามารถกระทำได้ พราะโดยสภาพแล้วจะกระทำได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น 2) ผู้แทนของนิติบุคคล ผู้แทนของนิติบุคคล ซึ่งการเกิดขึ้นของนิดิบุคคลเป็นสิ่งสมมติขึ้นตามกฎหมายเพื่อ ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเท่านั้น แต่นิติบุคคลไม่สามารถดำเนินการเอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3