2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

55 ได้ ต้องอาศัยคนใดคนหนึ่งหรือหลายคน เข้ามาดำเนินกิจการแทนนิติบุคคล เพราะนิติบุคคลมีสภาพ เป็นเพียงนามธรรม ไม่มีตัวตน ร่างกาย หรือจิตวิญญาณเหมือนบุคคลธรรมดาที่จะดำเนินการเองได้ แต่จิตวิญญาณ ความคิด หรือเจตนาที่อยู่เบื้องหลังของการจัดตั้งนิติบุคคลถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ สภาพนิติบุคคล เพราะนิติบุคคลไมใช่สิ่งมีชีวิต จึงต้องมีองค์กร (Organ) ของนิติบุคคลคือ คณะกรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของ การจัดตั้งนิติบุคคลซึ่งเป็นเสมือนอวัยวะของนิติบุคคลและกระทำการเพื่อนิติบุคค ดังนั้น นิติบุคคลจึง จำเป็นจะต้องอาศัยบุคคลธรรมดาคนใด คนหนึ่ง หรือหลายคน เข้ามาเป็นผู้แทนในการกำหนดและ แสดงเจตนาในนามของนิติบุคคลนั้น (หยุด แสงอุทัย, 2560) ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้ามาดำเนินงานใช้สิทธิ และหน้าที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคล ตามทฤษฎี แล้วคือผู้ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของนิติบุคคคล ได้แก่ คณะกรรมการ ( Board of Directors), ผู้อำนวยการ (Director), และผู้ควบคุมงาน (Supervisor) โดยใช้สิทธิและทำหน้าที่ดำเนินการแทน นิติบุคคล แต่ไม่ได้หมายความรวมถึงพนักงานทั่วไปที่จะต้องรับคำสั่งในการปฏิบัติงานรายวัน ซึ่งใน เรื่องดังกล่าวนี้ เยียริ่ง (Jhering) นักคิดคนสำคัญของสำนักกฎหมายสังคมวิทยา (Sociological Jurisprudence) ให้ความเห็นว่า"บุคคลผู้มีสิทธิและหน้าที่ดำเนินการแทนนิติบุคคล คือ บุคคล ธรรมดาที่เข้ามาเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลตามกฎหมาย จะเห็นว่าผู้ทำการแทนนิติบุคคลก็คือ กรรมการ หรือผู้จัดการที่ถือได้ว่าเป็นจิตใจ และเจตนาของนิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผน กำหนดนโยบาย และควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคล เพื่อกำหนดทิศทางของนิติบุคคลให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง (พระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที), 2564) เมื่อนิติบุคคลมีสภาพเหมือนกับบุคคลธรรมด แต่จะมีสถานภาพเป็นบุคคลที่แยก ต่างไปจากบุคคลธรรมดา ซึ่งนิติบุคคลเป็นสิ่งสมมติขึ้นโดยได้ รับการรับรองจากกฎหมาย เพื่ออำนวย ความสะดวกในการดำเนินกิจการ เพราะการ บริหารธุรกิจต้องอาศัยการรวมตัวของบุคคลเพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันหรือประกอบการธุรกิจ ให้พัฒนาและก้าวหน้าตามสภาพเศรษฐกิจของสังคม โลกในยุคปัจจุบัน หรือการรวมกลุ่มของคณะบุคคลขึ้นเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรโดยมีวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งเพื่อประโยชน์สาธารณะให้กับสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง โดยผู้แทนของนิติ บุคคลที่เข้ามากระทำการแทนในรูปแบบเป็นคณะกรรมการ ผู้อำนวยการผู้จัดการ ผู้ควบคุมงาน หรือ หัวหน้าของหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล เพื่อดำเนินการหรือกระทำการแทนนิติบุคคลภายในขอบเขต วัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หรือตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น (พระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที), 2564) ดังนั้น ผู้มีอำนาจและหน้าที่ดูแลศาสนสมบัติของวัด คือ เจ้าอาวาส ที่มีบทบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติณะสงฆ์ พ.ศ. 250 และแก้ไขเพิ่มเติมพระ ราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติหน้าที่และอำนาจของเจ้าอาวาสใน มาตรา 37 และ 38 ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3