2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

56 มาตรา 37 เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ 1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี 2) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัด นั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม 3) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ 4) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล มาตรา 38 เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้ 1) ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด 2) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด (พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2535, n.d.) ตามหลักการ ใช้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคท้ายได้กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของ นิติบุคคลในการแต่งตั้ง เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เฉพาะจึงต้องนำหลักทั่วไปของประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ในเรื่อง ตัวแทนมาปรับใช้ ทำให้เจ้าอาวาสสามารถแต่งตั้งบุคคลใด ๆ ก็ได้ แต่ เนื่องจากวัดเป็นสถานที่ของ ชุมชนและเป็นแหล่งกิจกรรมทางสังคมซึ่งมีการบริจาคเงินเข้ามาบำรุง ดูแลอยู่ตลอดเวลา การบริหาร กระทำในรูปแบบคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มบุคคลที่เจ้าอาวาสเลือก เข้ามา มิได้เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการบริหาร ทั้งที่วัดนั้นเป็นของชุมชน 2 . 6 หลักการเกี่ยวกับตัวการและตัวแทน กฎหมายกำหนดให้วัดเป็นนิติบุคคลในลักษณะไม่มีการแสวงหาผลกำไร ซึ่งเป็นการสมมุติตาม กฎหมายไม่อาจดำเนินการได้เอง จะต้องดำเนินการโดยนิติบุคคลที่ทำแทนวัดโดยได้รับมอบหมาย เรียกว่าตัวแทน และทรัพย์สินที่ได้มาส่วนใหญ่จะได้มาในรูปแบบสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในอำนาจของ เจ้าอาวาสที่เป็นตัวแทนของวัด มีการตั้งผู้จัดประโยชน์ของวัดในรูปแบบกรรมการเข้าร่วมการบริหาร จัดการ แต่เมื่อพิจารณาข้อกำหนดกฎหมายไม่มีการกำหนดรูปแบบและวิธีการสรรหาที่ให้สิทธิชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมเนื่องจากชุมชนเป็นหลักในการบริหารส่วนสำคัญและวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน จึง สมควรที่จะกำหนดรูปแบบและรายละเอียดการใช้อำนาจที่เหมาสม 1. ตัวการและตัวแทนในทางแพ่ง ในทางกฎหมายแพ่งสัญญาตัวแทน คือ สัญญาที่ตัวแทนมอบอำนาจให้ทำการอันใดอันหนึ่ง แทนตัวการ และตัวแทนตกลงจะทำการอันนั้นโดยตัวการอาจแต่งตั้งตัวแทนโดยชัดแจ้งหรือโดย ปริยายก็ได้ สัญญาตัวแทนมีหลักเกณฑ์สาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือ 1.1 ต้องมีคู่สัญญาสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ตัวการ" อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ตัวแทน"

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3