2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

60 แตกต่างของลักษณะส่วนบุคคลของพระภิกษุ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนพรรษาที่บวช และ ระยะเวลาที่เป็นพระสังฆาธิการ ส่งผลโดยตรงต่อระดับการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหาร จัดการวัด(พระอธิการผจญ อาจาโร, 2553) 2 . 8 หลักประโยชน์สาธารณะ รัฐมุ่งหมายต่อการสร้างสรรค์ประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชนภายในรัฐจากความต้องการของ ประชาชนภายในรัฐเอง คุณลักษณะอันเป็นรูปแบบของประโยชน์สาธารณะจึงมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นความต้องการของประชาชน ในอันที่จะได้รับการตอบสนองจากรัฐหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากรัฐ คุณลักษณะประการนี้ประกอบด้วยมิติในทางจิตวิทยา โดยความต้องการของประชาชนที่ ต้องการ (Besoin) ได้รับการตอบสนองจากรัฐในลักษณะที่เป็นการทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นจากผลสะท้อนของ ปัจเจกบุคคลที่ตรงกันเป็นจำนวนมาก จากความต้องการของปัจเจกบุคคล จึงขยายขึ้นเป็นความ ต้องการโดยส่วนรวม อาทิ การป้องกันประเทศ การศึกษา การสาธารณสุข ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นความ ต้องการของประชาชนโดยส่วนใหญ่ ยกระดับขึ้นเป็นประโยชน์สาธารณะ ขณะเดียวกันในมิติของ ปัจเจกบุคคลผู้มีความต้องการ กล่าวคือ หากรัฐลงมือกระทำการเพื่อตอบสนองความต้องการของ ตนเอง จะเป็นกิจกรรมของรัฐที่เรียกว่า กิจกรรมเพื่อกำไรให้มากที่สุด โดยลักษณะนี้ไม่เป็นการบริการ เพื่อประโยชน์สาธารณะด้วยมิได้เป็นการดำเนินการเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนแต่ อย่างไร หากแต่ถ้าเป็นการกระทำกิจกรรมหากำไรเพื่อมุ่งต่อการนำไปดำเนินการตอบสนองความ ต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม จะเป็นกิจกรรมของรัฐที่เรียกว่า กิจกรรมเพื่อบริการให้มากที่สุด โดยลักษณะประการหลังนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดของประโยชน์สาธารณะมากที่สุด (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2552) 2. การเข้ารับประโยชน์สาธารณะของประชาชน การที่ประชาชนจะเข้ารับประโยชน์สาธารณะได้นั้น ก็จะต้องเป็นผู้ทรงสิทธิในทางสิทธิ มหาชนเสียก่อน ซึ่งสิทธิมหาชนจะมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองของรัฐ อีกนัย หนึ่งคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่พลเมืองมีต่อรัฐ (สมยศ เชื้อไทย, 2555)เช่น สิทธิในการแสดงความคิดเห็น การเลือกตั้ง การร้อง ทุกข์ การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ เป็นต้น โดยที่รัฐจะต้องดำเนินรับรอง สิทธิดังกล่าวผ่านกลไก ทางกฎหมายมหาชน ทำให้รัฐจะต้องผูกพันตนเองภายใต้กฎหมายตั้งแต่ รัฐธรรมนูญเป็นต้นไป สิทธิมหาชนที่รัฐจะต้องรับรองคุ้มครองไว้ มีทั้ง สิทธิปฏิเสธ (Status Negativus) สิทธิกระทำ การ (Status Activus) ที่ประชาชนมีต่อรัฐเพื่อดำเนินการภายในขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจแก่ ประชาชนกระทำการได้ สิทธิเรียกร้องให้รัฐดำเนินการ (Status Positivus) เป็นสิทธิที่ประชาชนจะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3