2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
61 เรียกร้องให้รัฐรับรองคุ้มครองสิทธิของบุคคล สิทธิของรัฐต่อประชาชนซึ่งเป็นอำนาจอันชอบธรรมที่ หน่วยงานของรัฐจะกำหนดให้ประชาชนดำเนินการ อันนำไปสู่ความบรรลุวัตถุประสงค์ของประโยชน์ สาธารณะ 3. การดำเนินงานตามหลักการประโยชน์สาธารณะ การดำเนินงานมหาชนที่เป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์สาธารณะ จะต้อง พิจารณาภายใต้หลักเกณฑ์ของนิติรัฐ (ผจญ คงเมือง, 2550) ซึ่งอธิบายได้ดังต่อไปนี้ 1) ต้องวินิจฉัยประโยชน์มหาชนและประโยชน์เอกชนให้สอดคล้องกันมากที่สุด แม้ว่าความ ต้องการของเอกชนจะไม่สามารถเหมือนกันความต้องโดยรวมของมหาชนได้อย่างครบถ้วน แต่การ พิจารณาความพอเหมาะพอดีของความต้องการของสองฝ่าย ให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย สามารถ ประสานกลมกลืนกันก็จะเกิดดุลยภาพระหว่างกัน เกิดเป็นสันติภาพที่ผสานกันระหว่างสิทธิ ของ บุคคลและอำนาจของส่วนรวม 2) ประโยชน์มหาชนอยู่เหนือประโยชน์ของเอกชน โดยที่กฎหมายย่อมถือเอาประโยชน์ มหาชนสำคัญกว่า ด้วยเหตุที่เป็นประโยชน์ของส่วนรวม ขณะที่ประโยชน์ของเอกชน อาจมีเพียง เล็กน้อย กฎหมายจึงบัญญัติให้ในบรรดาประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองทั้งหลาย ไม่มีประโยชน์ใดที่จะ ยิ่งไปกว่าประโยชน์ของมหาชน หากไม่สามารถหาวิธีการใดมาดำเนินการให้เกิดความสอดคล้องกัน ระหว่างประโยชน์มหาชนกับประโยชน์เอกชนได้ ก็จำต้องรับรองป้องกันประโยชน์ของมหาชนไว้เป็น เบื้องต้นและบรรเทาผลกระทบที่เกิดแก่ประโยชน์เอกชน 3) ประโยชน์เอกชนพึงเสียสละเพื่อประโยชน์มหาชนเท่าที่จำเป็น กล่าวคือ แม้ว่าจะต้อง ถือเอาประโยชน์ของมหาชนเป็นหลักใหญ่ให้อยู่เหนือประโยชน์เอกชน การที่จะเข้าไป กระทำการใดที่ มีผลกระทบต่อประโยชน์เอกชนโดยอ้างความสูงสุดของประโยชน์มหาชน จะต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบที่จะไม่ทำให้เอกชนจะต้องเสียเปรียบหรือได้รับผลกระทบโดยไม่จำเป็น การใช้หลักการนี้จะ ชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อมีกรณีเป็นปรปักษ์ระหว่างประโยชน์ทั้งสองอย่างแท้จริง โดยไม่อาจเยียวยา ในทางอื่นได้ ทั้งการจะประสานประโยชน์ทั้งสองเข้าหากันก็ไม่อาจทำได้เช่นกัน การจะเข้าไปดำเนินการใด ๆ ให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ของฝ่ายเอกชน จะต้องให้มีน้อย ที่สุดเท่าที่จะทำได้ แนวทางดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้หลักความได้สัดส่วนหรือหลักความจำเป็นพอสมควร แก่เหตุ 4) เอกชนผู้สละประโยชน์เพื่อประโยชน์สาธารณะพึงได้รับค่าชดเชยความเสียหาย กล่าวคือ เมื่อเอกชนร้องรับความเสียหายจากผลกระทบของประโยชน์สาธารณะ โดยมิใช่ความผิดของตนแต่ อย่างใด หกแต่เพื่อคุณค่าที่เหนือกว่าของรัฐที่มุ่งดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ และเมื่อ รัฐได้สร้างผลกระทบต่อเอกชนแล้วจึงต้องดำเนินการให้เอกชนผู้เสียหายได้รับการชดเชยตามจำนวนที่ ถูกต้องและเหมาะสม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3