2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

62 5) รัฐต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด" ถ้ากฎหมายกำหนดให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ต้องดำเนินการอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ไม่ดำเนินการ ย่อมเป็นการงดเว้นกระทำการซึ่ง ขัดต่อกฎหมายต้องรับผิดเพื่อการละเมิดนั้น ส่วนการดำเนินการใด ๆ ของฝ่ายรัฐที่จะยังให้เกิด ประโยชน์สาธารณะก็ต้องดำเนินไปภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 6) การดำเนินการต้องพยายามไม่ให้ประโยชน์สาธารณะขัดกันเอง หากการดำเนินเพื่อ ประโยชน์สาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดกระทบกับการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะอีกอย่าง หนึ่ง รัฐจะต้องดำเนินการประสานประโยชน์สาธารณะทั้งสองให้เกิดดุลยภาพมากที่สุด หากปรากฏว่า ไม่ได้พยายามประสานประโยชน์สาธารณะดังกล่าวอย่างเหมาะสมแล้ว ประโยชน์สาธารณะที่รัฐจัดทำ ขึ้นภายหลังอาจถูกเพิกถอนได้ ดังนั้นการนำทฤษฎีประโยชน์สาธารณะมาใช้มีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง การได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและการบริหารจัดการภายในวัด จะกระทำได้ในกรณีที่มีความ จำเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะเท่านั้น หากไม่มีความจำเป็นอย่างเพียงพอใน การนำทรัพย์สินที่ได้รับการบริจาคมาเป็นสินส่วนตัวไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ รัฐย่อมมีอำนาจยึด มาเป็นสินส่วนรวม และการบริหารจัดการทรัพย์สินวัดต้องคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ของ สังคมในระยะยาวด้วย เพื่อให้การใช้ทรัพยากรนั้นสร้างผลประโยชน์สูงสุดแก่สังคมได้อย่างเหมาะสม และยั่งยืน 2.9 ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ตัวบทกฎหมายที่กล่าวถึงทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น ปรากฏ อยู่ในมาตรา 1623 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า“ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่ เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้น จะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดย พินัยกรรม” ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนของบรรพ 6 มรดก ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินเหล่านั้นจะตกแก่ใคร ในกรณีที่พระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ แต่ก็เป็นการยืนยันถึงความสามารถในการถือครองทรัพย์สินที่ ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ มีสิทธิในการจำหน่ายในระหว่าง ที่ยังมีชีวิตอยู่หรือจะทำพินัยกรรมกับทรัพย์สินเหล่านั้นก็ได้ โดยทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาใน ระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนี้ กฎหมายไม่ได้จำกัดว่าต้องได้มาเพราะบุคคลนั้นเป็นพระภิกษุ หรือ เนื่องจากเป็นพระภิกษุเท่านั้นดังนั้น ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาทุกประเภทไม่ว่าโดยทางใด ถือว่าเป็น ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาขณะที่อยู่ในสมณเพศทั้งสิ้น เช่น ได้มาโดยมีผู้ถวายได้มาโดยการซื้อ ได้มา โดยการรับมรดก ได้มาโดยการรับพินัยกรรมซึ่งแต่ละวิธีการได้มา มีรายละเอียดดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3