2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
64 สามจบ ก่อนทุกครั้งที่ถวาย ถ้าถวายรวมกันมากคน ควรตั้ง นโม สามจบ พร้อมกันก่อนแล้วหัวหน้า กล่าวนำคำถวายให้ผู้อื่นว่าตามเป็นคำ ๆ ทั้งคำบาลีและคำแปลจนจบ จากนั้นจึงประเคนสิ่งของที่ ตั้งใจถวาย ถ้าสิ่งของนั้นเป็นเสนาสนะหรือวัตถุที่ใหญ่โต ไม่สามารถจะยกประเคนได้ถ้าประสงค์จะ ประเคน ควรใช้น้ำหลั่งลงบนมือของพระเถระผู้เป็นประธานในพิธี ก็ถือว่าได้ประเคนแล้วเมื่อเสร็จการ ประเคนแล้ว ขณะที่พระภิกษุอนุโมทนา ทายกหรือทายิกาผู้ถวายพึงกรวดน้ำเมื่อพระเริ่มบทว่า ยถา ... พอถึงบทว่า สพฺพีติโย ... เป็นต้น พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์สาม ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีถวายทาน ดังนั้น กรณีที่พระภิกษุได้รับทรัพย์สินมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศโดยมีผู้ถวาย จึงเป็น การได้รับทรัพย์สินมาแบบปาฏิบุคลิกทาน ซึ่งในทางกฎหมายนั้น เมื่อกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าสิ่งใด พระภิกษุรับได้หรือรับไม่ได้ จึงมีผลเท่ากับพระภิกษุสามารถรับการถวายทรัพย์สินได้ทุกสิ่งอย่าง แม้ บางอย่างอาจจะขัดกับพระธรรมวินัยก็ตาม ด้วยเหตุที่พระภิกษุเป็นผู้ที่ยอมรับการดำเนินชีวิตชนิดที่ไม่ต้องมีทรัพย์สมบัติ ไปมีชีวิตอยู่ด้วย เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิต ตามแต่จะมีผู้ศรัทธาหรือตามแต่จะหาได้มาบริโภคด้วยสิทธิอันชอบธรรมของ นักบวช พุทธศาสนิกชนทั้งอุบาสกและอุบาสิกาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในพุทธบริษัท 4 จึงเป็นผู้ที่มี ส่วนสำคัญในการอุปถัมภ์ปัจจัย 4 และสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรแก่สมณะแด่พระภิกษุ ซึ่งการถวายทาน แด่พระภิกษุนั้น ก็ควรที่จะถวายวัตถุที่เหมาะแก่การใช้สอยของพระภิกษุที่เรียกว่า ทานวัตถุ 10 ประการ (แก้ว ชิดตะขบ, 2554) คือภัตตาหาร อาหารคาว หวาน ต่าง ๆ น้ำ รวมทั้งเครื่องดื่มอันควร แก่สมณบริโภค (ชา กาแฟ น้ำผลไม้) ผ้า เครื่องนุ่งห่ม (ไตรจีวร) ยานพาหนะ อุปกรณ์อำนวยความ สะดวกในการเดินทาง รวมถึงปัจจัย ค่าโดยสาร มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิดต่าง ๆ ของหอม หรือธูปเทียนบูชาพระ เครื่องลูบไล้ หรือเครื่องสุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกาย เช่น สบู่ เป็นต้น ที่นอน อันควรแก่สมณะ ที่อยู่อาศัย หรือกุฏิ เสนาสนะ และเครื่องสำหรับเสนาสนะ เช่น เตียงตู้ โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องส่องสว่าง เช่น ตะเกียง หลอดไฟฟ้า ไฟฉาย เป็นต้น ทานวัตถุ 10 ประการนี้ โดยสรุปก็คือ เครื่องไทยธรรม อันเป็นวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวาย แด่พระภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย 4 และสิ่งของที่เนื่องด้วยปัจจัย 4 คือ 1) เครื่องนุ่งห่มประเภทเครื่องผ้าทุกชนิด ที่มีสีสมควรแก่พระภิกษุสามเณรใช้สอยได้ ไม่ฉูดฉาด บาดตา ไม่เป็นของมีสีแวววาว เป็นของสมควรใช้นุ่งห่มสำหรับสมณะในพระพุทธศาสนา 2) เครื่องขบฉันต่างชนิด ทั้งอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มนานาชนิดยกเว้น เครื่องดองของเมา เช่น สุราเมรัย และสารเสพติดให้โทษทุกชนิด 3) เครื่องอุปกรณ์ที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมเรียกว่าเครื่องสุขภัณฑ์ เช่น เตียงโต๊ะ ที่นอน รวมทั้งเครื่อง ชำระกาย เช่น สบู่ ผงซักฟอก แปรงและยาสีฟัน เป็นต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3