2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

65 4) เครื่องบำบัดความป่วยไข้ทุกชนิดและเภสัช 5 คือ เนยใส เนยข้นน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (น้ำตาล) รวมทั้งหมากพลู ชา กาแฟ เป็นต้น โดยอนุโลม การถวายทานในพระพุทธศาสนา เมื่อจำแนกตามกำหนดระยะเวลาที่ถวายมี 2 ประเภท (แก้ว ชิดตะขบ, 2554) คือ 1) กาลทาน ได้แก่ ทานที่ถวายแด่พระภิกษุในระยะเวลาที่มีพระพุทธานุญาตกำหนดให้ถวายได้ เช่น กฐินทาน การถวายผ้าเพื่อทำจีวรซึ่งมีกำหนดเวลาถวายภายใน 1 เดือนหลังจากวันปวารณาออก พรรษา คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12และอาหารทาน การถวายอาหารขบ ฉัน ที่กำหนดเวลาถวายได้ตั้งแต่ เช้าถึงเที่ยงวัน เป็นต้น 2) อกาลทาน หรือ วิกาลทาน ได้แก่ ทานที่สามารถถวายได้โดยไม่จำกัดเวลาคือ จะถวายเวลาใด ก็ได้ตามแต่ศรัทธา โดยที่พระภิกษุผู้รับไม่ผิดพระวินัย เช่น การถวายอดิเรกจีวรยารักษาโรค เครื่อง เสนาสนะต่าง ๆ เป็นต้น 2.10 สถานะของทรัพย์สินภายหลังจากการสิ้นสุดสมณเพศกรณีลาสิกขา การลาสิกขา คือการปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าภิกษุด้วยกันหรือต่อหน้าบุคคลอื่นผู้ เข้าใจความ แล้วสละเพศภิกษุเสียถือเอาเพศที่ปฏิญญานั้น เมื่อได้ลาสิกขาแล้วเท่ากับว่าบุคคลผู้นั้นได้ สิ้นสุดสมณเพศและกลับเข้าสู่เพศฆราวาส ซึ่งการลาสิกขานี้ไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อน อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพราะก่อนที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุบุคคลนั้นมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่น ไร เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วก็ยังคงมีกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินนั้นอยู่เช่นเดิม และเมื่อลาสิกขาแล้ว ย่อมมีสิทธิกลับไปใช้สอยทรัพย์สินดังกล่าวได้เหมือนครั้งก่อนที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ (รอง ศาสตราจารย์มานิตย์ จุมปา, 2551) ในขณะที่ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมาย กำหนดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินประเภทนี้ไว้ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนของสถานะของทรัพย์สินที่ ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศว่าจะตกได้แก่ใคร ในทางปฏิบัติมีพระภิกษุบางรูปที่นำทรัพย์สิน เหล่านี้กลับบ้านไปเมื่อลาสิกขา โดยถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเมื่อครั้งเป็นพระภิกษุและมีพระภิกษุ บางรูปที่ถวายทรัพย์สินเหล่านั้นให้แก่วัดเพื่อเป็นของสงฆ์ต่อไป โดยที่ไม่นำกลับไปบ้านเพราะถือว่า ทรัพย์สินเหล่านั้นได้รับมาเนื่องจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของผู้ถวาย ซึ่งในทางตำรา กฎหมาย ต่างตีความไปในทำนองเดียวกันว่า บุคคลที่ลาสิกขาสามารถนำทรัพย์สินเหล่านี้กลับไปเป็น กรรมสิทธิ์ส่วนตนได้ ปรากฏจากคำอธิบายเรื่องการตกทอดซึ่งมรดกของพระภิกษุในกรณีที่พระภิกษุ บวชหลายครั้ง โดยจะต้องพิจารณาทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่ได้มาระหว่างการบวชครั้งสุดท้ายเท่านั้นที่ จะตกเป็นสมบัติของวัด ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาในการบวชครั้งก่อนการบวชครั้งสุดท้าย ไม่อยู่ในบังคับ ของมาตรา 1623 นี้ คงถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนอุปสมบท ตกทอดสู่ทายาทโดยธรรมตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3