2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
66 มาตรา 1624(ไพโรจน์ กัมพูสิริ, 2564) ส่งผลให้มีการนำทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศกลับไปใช้สอยส่วนตัวภายหลังจากที่ลาสิกขาแล้ว ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะได้รับมาจากความ เชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของผู้ถวายหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น จะเห็นว่า สถานะทรัพย์สินขององค์การศาสนาอันถือว่าเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินอีก ประเภทหนึ่ง ซึ่งในทางทฤษฎีหรือหลักการจึงมีความมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของ องค์การ ศาสนาเป็นพิเศษที่แตกต่างไปจากที่ดินของเอกชนหรือประชาชนทั่วไปด้วยการห้ามโอน กรรมสิทธิ์ ห้ามยึดทรัพย์สิน และห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้ เพื่อให้ทรัพย์สินขององค์การศาสนามีไว้ สำหรับให้ ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันและเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงต้องระมัดระวังมิให้ถูก รบกวน หรือถูกขัดขวางต่อการที่ประชาชนจะได้ใช้ทรัพย์สินนั้นร่วมกัน 2.11 การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของศาสนาอื่นในต่างประเทศกับพุทธ ศาสนาเถรวาทในประเทศไทย ภาพรวมของการบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดในด้านรายรับและรายจ่ายนั้น วัดสามารถหา รายได้จากแหล่งต่างๆ มาใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นรายรับที่เกิดจากเงินบริจาคของ พุทธศาสนิกชน รายรับที่วัดได้มานั้นส่วนใหญ่มักนาไปใช้กับค่าก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารสถานที่ใน วัด (ณดา จันทร์สม, 2561) มากกว่าการให้การศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณร ซึ่งเป็นเรื่องของการ พัฒนาบุคคลต่างจากศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ตรงที่ศาสนาคริสต์จะนำรายรับหลังจากที่หัก ร้อยละ 10 ส่งไปยังสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทยมาเป็นค่าใช้จ่ายการประกอบกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและศาสนิก ส่วนศาสนาอิสลามจะนำรายรับที่เป็นเงิน บริจาคมาเป็นค่าใช้จ่ายในการอบรมศาสนาทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ดังนั้น ในภาพรวมจะเห็นได้ว่าศาสนา คริสต์และอิสลามมักนารายรับไปใช้พัฒนาในด้านของบุคคลมากกว่าวัตถุ ซึ่งเป็นประโยชน์ระยะยาว มากกว่าการนำไปพัฒนาวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว ด้านโครงสร้างของการบริหารจัดการเงินบริจาค จะเห็นได้ว่า ศาสนาคริสต์และอิสลามจะ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่บริหารจัดการการเงินโดยเฉพาะ อันประกอบไปด้วยบุคคลหลาย ฝ่าย โดยมีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย แตกต่างจากรูปแบบของ การบริหารจัดการเงินบริจาคของศาสนาพุทธที่มิได้มีการกาหนดให้การจัดเก็บดูแลและรักษาเงิน บริจาคต้องกระทำในรูปแบบของคณะกรรมการอันประกอบไปด้วยพระภิกษุและฆราวาสเช่นเดียวกับ ศาสนาคริสต์และอิสลามดังกล่าว ซึ่งปรากฏว่ามีทั้งวัดที่ทาการแต่งตั้งและไม่แต่งตั้งคณะกรรมการ บริหารการเงินของวัด อันประกอบด้วยพระภิกษุและฆราวาสทำหน้าที่ร่วมกัน อีกทั้งไม่มีการกำหนด วาระการดำรงตำแหน่งของเจ้าอาวาสและไวยาวัจกรแต่ประการใด ต่างจากคณะกรรมการบริหาร ทรัพย์สินของศาสนาคริสต์ ยกตัวอย่างเช่น ในธรรมนูญคริสตจักรสามัคคีธรรมเชียงใหม่ กำหนดให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3