2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

67 คณะธรรมกิจ (คณะผู้บริหารทรัพย์สิน) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และพระราชบัญญัติองค์การ บริหารศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 มาตรา 34 กำหนดให้คณะกรรมการอิสลามประจามัสยิด มีวาระ การดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ดังนั้น จึงควรนำรูปแบบการบริหารจัดการเงินบริจาคในแบบของ คณะกรรมการของโบสถ์ในศาสนาคริสต์และมัสยิดในศาสนาอิสลาม โดยกาหนดวาระการดำรง ตำแหน่งของคณะกรรมการมาปรับใช้กับโครงสร้างการบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดในศาสนาพุทธ ด้วย ด้านคุณสมบัติของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด แม้จะมีกฎหมายกำหนดโครงสร้าง การ บริหารในรูปแบบคณะกรรมการชัดเจน แต่ยังพบปัญหาว่าคณะกรรมการบางคนขาดความรู้ในการ บริหารมัสยิดและมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ดังนั้น ปัญหาในเรื่องคุณสมบัติของคณะกรรมการบริหารจึง มีความจำเป็นมากที่จะต้องแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารอย่างเพียงพอ มิฉะนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อศาสนสมบัติของศาสนาได้ ส่วนด้านการเปิดเผยรายรับที่ได้จากการบริจาคนั้น องค์กรคริสต์ศาสนาทุกแห่งมีการจริงจัง กับการตรวจสอบ ติดตามผลงาน โดยเน้นการดาเนินงานที่มีความโปร่งใสเป็นพิเศษ จุดเด่นนี้มีความ เด่นชัดที่สุดและมีความสอดคล้องกับหลักโปร่งใส สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะนาพิจารณาเพื่อเป็น แนวทางในการปรับปรุงกฎกระทรวงเพื่อให้การบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดมีความสุจริต โปร่งใส และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น สรุปได้ว่า การบริหารจัดการเงินบริจาคของศาสนาคริสต์ อิสลามและพุทธนั้น ต่างมีระบบ การจัดการตามรูปแบบของตน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ไม่ เหมือนกัน รูปแบบที่เหมือนกันคือ ในเชิงโครงสร้างต่างให้ความสำคัญกับผู้นำสูงสุดในองค์กรเนื่องจาก ศิษยาภิบาลซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดในคริสตจักรมีฐานะเป็นทั้งประธานในคณะผู้ปกครองและคณะธรรมกิจ โดยตำแหน่งและไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง และอิหม่ามซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดในมัสยิดมีฐานะเป็น ประธานในคณะกรรมการบริหารมัสยิดโดยตำแหน่งด้วย โดยไม่มีวาระการดำรงตำแหน่งแสดงให้เห็น ว่าตำแหน่งผู้นำสูงสุดในของโบสถ์และมัสยิดของศาสนาคริสต์และอิสลามนั้นมีความสำคัญเป็นอย่าง ยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและมีอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆภายในโบสถ์และมัสยิด จะ เห็นได้ว่าการบริหารจัดการเงินบริจาคโดยใช้รูปแบบของคณะกรรมการบริหารอันประกอบไปด้วย บุคคลหลายฝ่าย เช่น คณะธรรมกิจของศาสนาคริสต์ ได้แก่ประชาชนในพื้นที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและ สรุปยอดเงินและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในการบริหารจัดการเงินบริจาคของศาสนา อิสลามจะทำให้อำนาจของผู้นำสูงสุดถูกกระจายออกไป และเป็นการถ่วงดุลอำนาจภายในองค์กรอีก ทางหนึ่ง เพื่อไม่ให้อำนาจต้องถูกผูกขาดอยู่ที่บุคคลเพียงคนเดียวทั้งจะทำให้การบริหารงานเกิดความ รอบคอบมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ต่างจากศาสนาพุทธตรงที่เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไปตาม มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3