2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

69 สงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 6 กำหนดให้ เจ้าอาวาสจัดให้ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดซึ่งเจ้าอาวาส แต่งตั้งทำบัญชีรับจ่ายเงินของวัด และเมื่อสิ้นปีปฏิทิน ให้ทำบัญชีแสดงเงินรับเงินจ่ายและเงินคงเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าอาวาสตรวจตราดูแลให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและถูกต้องซึ่งไม่มีสภาพบังคับเด็ดขาดผล ปรากฏว่าบางวัดปฏิเสธที่จะจัดทำบัญชีการเงิน บางวัดจัดทำบัญชีไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้อง เมื่อ ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินให้หน่วยงานภายนอกหรือประชาชนทราบจึงยากต่อการตรวจสอบ ความถูกต้องได้ จากการเปรียบเทียบการบริหารจัดการเงินบริจาคของศาสนาคริสต์ อิสลามและ ศาสนาพุทธจะเห็นได้ว่ามีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงกันและส่วนที่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า ส่วนที่แตกต่างกันนั้นเป็นประโยชน์และสามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารจัดการเงินบริจาคของวัด ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการบริหารจัดการที่ดีและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การนำรูปแบบการบริหาร จัดการที่ดีของศาสนาอื่นมาปรับใช้กับการบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดจะทำให้การบริหารจัด การเงินบริจาคของวัดในพระพุทธศาสนาเกิดความมีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากยิ่งขึ้น กรณีการบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดในพระพุทธศาสนากำหนดวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปตาม วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) แต่ความเป็นจริงในปัจจุบันถึงแม้ กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) ยังใช้บังคับอยู่ ปัญหาการทุจริต ยักยอกเงินวัดยังปรากฏให้เห็น อยู่เสมอ แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนอกจากต้องพิจารณาจากตัวบุคคลผู้มีหน้าที่บริหารจัดการเงิน บริจาคของวัดแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดหรือช่องว่างของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ประกอบด้วย โดยคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลตามประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันทั้งภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ รวมถึงภาคเอกชน ได้นำหลักธรร มาภิบาลมาปรับใช้ภายในองค์กร เนื่องจากมีความคิดร่วมกันในความต้องการที่จะให้ทุกภาคส่วนทั้งใน ระบบราชการหรือเอกชน ได้มีการนำระบบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในสังคมไทย อย่างแพร่หลายเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างความรับผิดชอบให้กับสังคมและประเทศชาติ นอกจากนี้หลักธรรมาภิบาลยังมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับวัด (พระอธิการผจญ อาจาโร, 2553) และพบว่าการบริหารจัดการทางด้านการเงินของวัดควรยึดหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการที่ ดีในการบริหารจัดการ (ณดา จันทร์สม, 2555) โดยการที่จะนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับวัดได้นั้น อยู่ภายในหลักการบริหารจัดการที่กำหนดว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของหลักการบริหาร ถึงขนาดที่ องค์กรสมัยใหม่ให้ความสำคัญของคนถือว่ามีความสำคัญมาก่อนทรัพยากรอื่นขององค์กร อีกทั้งวัดมี ฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายและมีภารกิจใน การบริการสาธารณะ จึงถือเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องบริหารงานภายใน วัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเนื่องจากวัดต้องมีการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดโดยโปร่งใสและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3