2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

72 ภาคที่ 8 เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ภาคที่ 9 นครศรีธรรมราช-ตรังภาคที่ 10 เชียงราย ภาคที่ 11 นครปฐม ภาคที่ 12 ทั่วประเทศ (จีน) ภาคที่ 13 อุดรธานี ภาคที่ 14เชียงใหม่ (สภา คริสตจักรในประเทศไทย, 2547) คริสตจักรแต่ละภาคมีคณะธรรมกิจประจาภาคบริหารงาน ซึ่งมีกรรมการ ประกอบด้วยประธานกรรมการของกรรมการต่างๆ ของภาคศาสนาจารย์ ศิษยาภิบาล ผู้แทน คริสตจักรประจำตำบลและเจ้าหน้าที่ภาค 7) คริสตจักรท้องถิ่น คริสตจักรประจำตำบลประกอบด้วยที่ประชุมสัปบุรุษ มัคนายกและผู้ปกครอง(จิรศักดิ์ โพธิ์ ขำ, 2543) ในการบริหารงานของสภาคริสตจักรของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ได้แบ่ง โครงสร้างการบริหารงานของสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากโครงสร้างการบริหารงาน ระดับคริสตจักรท้องถิ่น โครงสร้างบริหารงานระดับคริสตจักรภาค และโครงสร้างบริหารงานสมัชชา สภาคริสตจักรในระดับประเทศไทย ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 3 ระดับ (ข้อ 9 แห่ง ธรรมนูญสภาคริสตจักรในประเทศไทย ค.ศ. 1998) ได้แก่ (1) ระดับคริสตจักรท้องถิ่น มีโครงสร้างการปกครอง ในรูปแบบการมีคณะธรรมกิจ คริสตจักรท้องถิ่น โดยอยู่ภายใต้สภาคริสตจักรในประเทศไทย (2) ระดับคริสตจักรภาค มีโครงสร้างการปกครอง ในรูปแบบการมีคณะธรรมกิจ คริสตจักรภาค (3) ระดับสภาคริสตจักรในประเทศไทย มีโครงสร้างการปกครองในรูปแบบการมี สมัชชาสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในสภาคริสตจักรในประเทศไทยในการบริหารงานได้กำหนด พันธกิจในการบริหารงาน ประกอบด้วยพันธกิจคริสตจักร พันธกิจเสริมสร้างคริสตจักรและชุมชน พันธกิจด้านพัฒนาบุคลากรและสวัสดิการ พันธกิจการคลังและทรัพย์สิน พันธกิจด้านการศึกษา และ พันธกิจการแพทย์ พันธกิจในการบริหารงานแต่ละด้านของสภาคริสตจักรในประเทศไทย มี รายละเอียด ดังต่อไปนี้ พันธกิจคริสตจักร ได้แก่ คริสตจักรภาค โดยมีคริสตจักรท้องถิ่น หมวดคริสเตียน และศาลาธรรมเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าด้วยการเป็นพยานขององค์พระเยซูคริสต์ พันธกิจเสริมสร้างคริสตจักรและชุมชน มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนส่งเสริมให้ คริสตจักรภาค คริสตจักรท้องถิ่น หมวดคริสเตียน ศาลาธรรมและสถาบัน สามารถกระทำพันธกิจของ พระเจ้าได้ด้วยตนเอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3