2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
75 รูปแบบที่ 2 การรับบริจาคทางอ้อม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการบริจาคด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้ การรับบริจาคโดยการเขียนโครงการขอความช่วยเหลือจากแหล่งเงินทุนในประเทศและ ต่างประเทศ การจัดกิจกรรมรับบริจาค การรับบริจาคจากสมาชิก/มูลนิธิ การพัฒนาเครือข่ายทั้ง ภายนอกและภายในประเทศ การหากาไรจากเปอร์เซ็นต์ของการค้าขายสินค้าและการจัดเก็บรายได้ จากศาสนสมบัติของศาสนจักร เช่น การให้เช่าที่ดินเพื่อเพาะปลูก การขายที่ดินที่ไม่มีประโยชน์เพื่อ นำเงินมาทำกิจกรรมทางศาสนา เป็นต้น ในการบริหารจัดการเงินจากการรับบริจาคของศาสนาคริสต์ ไม่ว่าจะเป็นการ บริจาคทางตรงหรือการบริจาคทางอ้อมนั้น ได้กำหนดส่วนของรายจ่ายที่ทางคริสตจักรต้องใช้จ่ายโดย มีการตั้งรายจ่ายที่ต้องจ่ายที่รายจ่ายประจำปีของคริสตจักรไว้ ได้แก่ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยงค่าสวัสดิการ ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานทั่วไป ค่าใช้จ่ายโครงการต่างๆ ที่กิจกรรมของประชาคมคริสตจักรกำหนด ในแต่ละปีและค่าใช้จ่ายที่หักเอาไว้เป็นค่าบริการ การรับใช้พระเจ้า เช่น การที่คริสตจักรท้องถิ่น กำหนดเงินช่วยเหลือคริสตจักรภาค และคริสตจักรกลางแห่งประเทศไทย เช่นร้อยละ 25 จากรายรับ ที่ได้ (สภาคริสตจักรในประเทศไทย, 2547) นอกจากนี้แต่ละคริสตจักรยังสามารถบัญญัติธรรมนูญคริสตจักรขึ้นเพื่อใช้บังคับ ภายในคริสตจักรในด้านการบริหารจัดการเงินบริจาครวมทั้งด้านอื่นๆ ได้และมีผลใช้บังคับทันทีเมื่อ ได้รับมติรับรองจากที่ประชุมใหญ่สมาชิกสมบูรณ์ของคริสตจักรด้วยเสียงข้างมากกว่ากึ่งหนึ่งของที่ ประชุม เช่น คริสตจักรสามัคคีธรรมเชียงใหม่ได้กำหนดธรรมนูญการปกครองขึ้นใช้เกี่ยวกับการ บริหารจัดการเงินบริจาคภายในคริสตจักร โดยกำหนดโครงสร้างการบริหารไว้ในหมวดที่ 5 ข้อ 1 และ กำหนดวิธีการดูแลทรัพย์สินไว้ในหมวดที่ 10 เป็นต้น (สภาคริสตจักรในประเทศไทย, 2547) จะเห็นได้ว่าการบริหารของสภาคริสตจักรนั้นจัดเป็นระบบสอดคล้องกันทั้ง ระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับชาติ มีการจัดรูปแบบ การส่งต่อโครงสร้างที่ได้มีการกลั่นกรองมา เป็นลำดับและมีกิจกรรมที่ต่อเนื่อง เพราะมีฐานการบริหารบุคคล การเงิน การจัดการ ที่มีที่มาของ รายได้แน่นอน และมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือด้านการบริหารการเงินจากสภาคริสตจักรในประเทศ ไทยและจากภายนอกประเทศ ดังนั้น จุดแข็งอยู่ที่การพัฒนาศาสนบุคคล ศาสนพิธี ศาสนวัตถุ และศา สนธรรม อย่างสอดคล้องกัน ทาให้เกิดพลวัตรของความเป็นศาสนาและเป็นที่พึ่งแก่ศาสนิกในด้านวัตถุ และโดยเฉพาะด้านจิตวิญญาณสำหรับการดำเนินชีวิต การบริหารจัดการการเงินของศาสนาคริสต์นั้นได้มีการจัดตั้งองค์กรกลางทำ หน้าที่ปกครองดูแลโบสถ์และคริสตจักรทั่วประเทศ เรียกว่าสภาคริสตจักรเข้ามาบริหารจัดการแบ่ง การทำงานออกเป็นภาค เรียกว่า คริสตจักรภาค ในแต่ละภาคจะรับผิดชอบโบสถ์และคริสตจักรใน ภาคของตนเอง เงินทุนของสภาคริสตจักรมาจากเงินรายได้ของโบสถ์และคริสตจักรทั่วประเทศแห่งละ ร้อยละ 10 ของรายได้ที่โบสถ์และคริสตจักรได้รับนามาจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่โบสถ์และคริสตจักรที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3