2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
76 ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง นอกจากนี้ยังช่วยประสานงานอำนวยความสะดวกแก่โบสถ์และคริสตจักร (สภาคริสตจักรในประเทศไทย, 2547) การบริหารจัดการการเงินของโบสถ์และคริสตจักร มีคณะธรรมกิจ ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ทำหน้าที่เก็บรักษาเงินและสรุปยอดเงิน ให้ศิษยาภิบาล (ผู้ปกครอง) ประจำโบสถ์ และคริสตจักร ตลอดจน ประชาชนทั่วไปรับทราบทุกวันอาทิตย์ ทุกเดือน ทุกปี เมื่อสิ้นปีจะมีการ ตรวจสอบการเงินของโบสถ์และคริสตจักรจากสำนักงานตรวจสอบบัญชีเอกชน เงินรายได้ของโบสถ์ และคริสตจักรทั่วประเทศมาจากเงินมนัสการวันอาทิตย์ ซึ่งประชาชนบริจาคเมื่อเข้าร่วมพิธีทาง ศาสนาทุกวันอาทิตย์ เงินบริจาคของประชาชนเป็นครั้งคราวตามศรัทธา เงินของโบสถ์และคริสตจักร จะถูกหักออกร้อยละ 10 เพื่อส่งไปยังสำนักงานเพื่อส่งต่อไปยังสภาคริสตจักร เป็นเงินทุนในการ บริหารงาน ส่วนโบสถ์และคริสตจักรจัดการกับเงินที่ได้รับมาในด้านต่อไปนี้ กิจการโรงเรียน กิจการ โรงพยาบาล กิจกรรมพัฒนาสตรี กิจกรรมพัฒนาเยาวชน กิจกรรมการพัฒนาและบริการสังคม กิจกรรมช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัย การดำเนินการบริหารจัดการเงินบริจาคของศาสนาคริสต์ มีการ บริหารจัดการอย่างเป็นระบบโดยมีการกาหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งถือว่าเป็น จุดเด่นอย่างหนึ่งของศาสนาคริสต์ การตัดสินใจในการทางานโครงการต่างๆ ของนิกายโปรเตสแตนท์ นั้น หน่วยงานสามารถตัดสินใจได้เอง โดยไม่ต้องรายงานมาที่สภาคริสตจักรในประเทศไทย ซึ่งมี ลักษณะเป็นการกระจายอานาจในการทำงาน ซึ่งต่างจากการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ของนิกาย โรมันคาทอลิก ตรงที่การตัดสินใจในการทำงานยังคงอยู่ที่กรุงโรมซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับบัญชาเป็น ส่วนใหญ่จึงมีลักษณะคล้ายกับการรวมอานาจไว้ที่ส่วนกลาง แต่ทั้งสองนิกายมีส่วนคล้ายกันในเรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน เมื่อส่วนกลางขอความช่วยเหลือไป หน่วยงานต่างๆ มักจะให้ ความร่วมมือเป็นอย่างดี (กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557) ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ มีองค์การศาสนาที่ ราชการได้รับรองฐานะถึง 4 องค์การ คือ สภาประมุขแห่งบาทหลวงคาทอลิก สภาคริสตจักรประเทศ ไทย สหกิจ คริสเตียนแห่งประเทศไทย มูลนิธิคริสตจักรแบ็บติสต์และมูลนิธิเซเว่นเดย์แอ็ดแวนติสต์ ซึ่งมีรูปแบบการบริหารจัดการเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีคณะกรรมการดำเนินการในทุก ระดับ ซึ่งอาจจะเป็นกรรมการโดยตำแหน่งหรือโดยการเลือกตั้งจากสมาชิกภายในองค์การ รูปแบบใน การบริหารจัดการของศาสนจักรนั้น มีองค์การในการบริหารซึ่งอาศัยอำนาจจากบทบัญญัติของ กฎหมายมารองรับอย่างเด่นชัด อาทิเช่น รูปแบบของมูลนิธิและมิสซัง ดังนั้นการบริหารจัดการจึง สามารถตรวจสอบได้พร้อมทั้งมีบทลงโทษตามกฎหมายรองรับอยู่ ในรูปแบบขององค์กรนั้นๆอยู่แล้ว ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าการบริหารในลักษณะของบุคคลเพียงคนเดียวเป็น ผู้แทน (กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3