2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

77 เหตุผลที่นำเสนอถึงการดูแล รักษาและการจัดประโยชน์ในศาสนสมบัติของ ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยนั้น เนื่องมาจากการดูแล รักษาและหาประโยชน์ในศาสนสมบัติของ ศาสนาคริสต์นั้น ไม่ว่าจะเป็นนิกายใดก็ตาม ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการจัดประโยชน์ที่ชัดเจน โดย นำรายได้จากการจัดประโยชน์มาเผยแพร่ศาสนาและบำรุงส่งเสริมการศึกษาของคริสตศาสนิกชน รวมถึงบุคคลอื่นๆ ในรูปแบบของการจัดประโยชน์ในศาสนสมบัติ มีองค์กรซึ่งมีสถานภาพตาม กฎหมายที่ชัดเจน อาทิเช่น มูลนิธิ สมาคม เป็นผู้บริหารอีกทั้งการบริหารจัดการศาสนสมบัติของ ศาสนาคริสต์นั้น มุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริมการศึกษาเป็นหลัก ซึ่งพิจารณาแล้วว่าน่าจะนำรูปแบบ การบริหารจัดการดังกล่าวที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับรูปแบบการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด ในพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี 2.13 หลักการบริหารจัดการศาสนสมบัติของศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามแพร่เข้ามาในประเทศไทยไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าในปีใดแต่ปรากฏใน ประวัติศาสตร์ว่าตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราชได้แผ่อาณาเขตไปถึงแหลมมลายู เช่น เมือง นครศรีธรรมราชในขณะนั้น ก็นับถือศาสนาอิสลาม ตลอดลงไปจนถึงเมืองมะละกาประกอบกับใน หลักศิลาจารึกก็มีภาษาเปอร์เซียปรากฏอยู่ด้วย คือคาว่า “ปสาน” ซึ่งแปลว่า “ตลาด”ย่อมแสดงว่ามี ชาวเปอร์เซีย ซึ่งแสดงว่าชาวมุสลิมได้เข้ามาทาการค้าขายติดต่อและตั้งบ้านเรือนอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ, 2539)บทบาทของมุสลิมในประเทศไทยนั้น จาก บันทึกทางประวัติศาสตร์ไทยปรากฏว่าชนชาติอาหรับได้เดินทางมาทาการค้าขายกับเมืองไทย ตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีมุสลิมรับราชการในราชสานักไทย นอกจากชาวมุสลิมในท้องถิ่นทาง ภาคใต้ของเมืองไทย นับแต่เมืองนครศรีธรรมราชลงไปจนจรดปลายแหลมมลายู สิงคโปร์และมะละกา บรรดาเจ้าผู้ครองนครแทบทุกเมืองเป็นชาวมุสลิมที่อยู่มาแต่เดิมทั้งสิ้น สำหรับบทบาทของชาวมุสลิมที่ ได้มีโอกาสรับราชการในราชสำนักไทยนั้น คาดว่าเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรี อยุธยา (พ.ศ. 2145-2170) เป็นต้นมาจนถึงสมัยปัจจุบัน (กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557) ความหมายของมัสยิดด้านกฎหมาย สำนักงานกฤษฎีกา กล่าวว่า พระราชบัญญัติการบริหาร องค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 กล่าวว่า มัสยิด หมายถึง สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบ ศาสนกิจโดยจะต้องมีการละหมาดวันศุกร์เป็นปกติ เป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลาม มาตรา 13 ให้มี ฐานะเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการจำนวนหนึ่งเป็นผู้แทนมัสยิดทำหน้าที่ในการทำธุรกรรมกับบุคคล อื่น คณะกรรมการ มี 2 ประเภท คือ 1 คณะกรรมการที่ดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิตไม่มีกำหนดวาระ อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น จะพ้น จากตำแหน่งเมื่อตายหรือลาออกหรือถูกพิจารณาให้ออก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3