2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
78 2 กรรมการอื่นอีก 6-12 คน มีวาระการดำรงตำเหน่งคราวละ 4 ปี จากการกัดเลือกของ สัปปุรุษ สรุป มัสยิดคือสถานที่ประกอบอิบาคะฮฺต่ออัลลอฮฺ เช่น การละหมาดประจำวันและละหมาด วันศุกร์ เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนที่เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลาม มี ทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เป็นนิติบุคคลและมีคณะกรรมการจำนวนหนึ่งทำหน้าที่บริหารงานให้ เป็นไปตามบทบัญญัติของศาสนา และกฎหมาย (มุหัมหมัด ล่าเม๊าะ, 2563) 2.13.1 การบริหารงานของมัสยิดในประเทศไทย การบริหารงานของมัสยิดในประเทศไทย ในปัจจุบันนั้น ได้มีการบัญญัติกฎหมายใน การจัดตั้งองค์กรและการบริหารงานของศาสนาอิสลามในประเทศไทยไว้ใน พระราชบัญญัติการ บริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ในการบริหารมัสยิดนั้นมีแนวความคิดในการบริหารมัสยิด กรณีสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกระบี่ ให้ความหมายของการบริหารมัสยิดว่า หมายถึง การบริหารชุมชนมุสลิม ซึ่งคณะกรรมการประจำมัสยิดเป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการไป อย่างสอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลามอย่างแท้จริง เพราะกรรมการมัสยิดเป็นผู้มีบทบาท หน้าที่ทางสังคมโดยตรงและใกล้ชิดกับประชาชนระดับท้องถิ่นมากที่สุด ดังนั้นหากได้การพัฒนา บทบาทของคณะกรรมการมัสยิดจนถึงระดับมาตราฐาน มัสยิดจะสามารถปฏิบัติหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เสาวนีย์ จิตต์หมวด, 2539) รูปแบบโครงสร้างขององค์กรศาสนาอิสลามในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้มีการ บัญญัติกฎหมายในการจัดตั้งองค์กรและการบริหารงานของศาสนาอิสลามในประเทศไทยไว้ใน พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ .ศ. 2540 ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่าย อิสลาม พ.ศ. 2488 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึง จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ โครงสร้างการบริหารองค์กรอิสลามให้มีจุฬาราชมนตรี เพื่อให้เป็นผู้นำกิจการศาสนา อิสลามในประเทศไทย และกำหนดให้มีองค์กรศาสนาอิสลามไว้ 3 องค์กร คือ ก. องค์กรสูงสุด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดย คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการมีฐานะเป็นนิติบุคคล ข. องค์กรระดับภูมิภาค ได้แก่ สานักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3