2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

79 ค. องค์กรระดับท้องถิ่น ได้แก่ มัสยิด โดยคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มีฐานะเป็น นิติบุคคล มีความใกล้ชิดชาวมุสลิมมากที่สุด ทั้งยังมีอำนาจบริหารจัดการศาสนสมบัติภายในมัสยิดได้เอง มัสยิดเป็นสถานที่ซึ่งผู้นับถือศาสนาอิสลามใช้ประกอบพิธีกรรมตามลัทธิศาสนาอิสลาม ในวันศุกร์และมัสยิดเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยแล้วมีฐานะเป็น นิติบุคคล โดยมีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดทำหน้าที่บริหารงานและวางระเบียบปฏิบัติภายใน ของมัสยิดภายในมัสยิด มีอิหม่ามเป็นประธานกรรมการ คอเต็บเป็นรองประธานกรรมการ บิหลั่นเป็น รองประธานกรรมการและกรรมการอื่นตามจำนวนที่ที่ประชุมประจำมัสยิดนั้นกำหนดจำนวนไม่น้อย กว่าหกคนแต่ไม่เกินสิบสองคน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ทั้งนี้ ตามที่พระราชบัญญัติการบริหาร องค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 มาตรา 30 และมาตรา 35 กำหนดไว้(กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557) แท้ที่จริงแล้วองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับศาสนาอิสลามนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สมาคม มูลนิธิ ชมรม และกลุ่มต่างๆ มากมาย แต่องค์กรภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการบริหาร องค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 นั้น คือ จุฬาราชมนตรี และองค์กรทั้ง 3 ระดับ ดังที่กล่าวมา 2.13.2 การบริหารจัดการเงินบริจาคของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันศาสนาอิสลามมีประชาชนชาวไทยนับถือมากเป็นอันดับสองรองจากศาสนา พุทธกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ มีจานวนทั้งสิ้นคิดเป็นร้อยละ 4.9 ของประชากรทั้งหมด(สำนักงาน สถิติแห่งชาติ , 2555b )จึงมีการรวมตัวกันในลักษณะของกลุ่มสมาคม มูลนิธิและองค์กร สาธารณประโยชน์ในรูปแบบต่างๆจำนวนมาก ฉะนั้นองค์กรต่างๆ เหล่านี้จึงต้องใช้วิธีการหาทุนหรือ ระดมทุนหรือรับบริจาคจากผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในหลักการวิธีการ ดาเนินการขององค์กรนั้นๆ เนื่องจาก ศาสนาอิสลามมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากศาสนาอื่น โดยเป็นศาสนาที่มีบทบัญญัติครอบคลุมถึง วิถีชีวิตของผู้นับถือในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมุสลิมทั่วโลกจะมี รูปแบบแห่งพฤติกรรมที่ถูกกาหนดขึ้นไว้เป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะมุสลิมทุกคนไม่สามารถแยกอิสลาม ออกจากวิถีการดำเนินชีวิต ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางสิ่งบางประการของหลักศาสนาที่กำหนดไว้ รูปแบบแห่งพฤติกรรมของมุสลิมตั้งแต่ตื่นจนหลับ ตั้งแต่เกิดจนตายจึงต้องอยู่ในครรลองของศาสนา อิสลามทั้งหมด(เสาวนีย์ จิตต์หมวด, 2539) ซึ่งในบรรดาหลักการปฏิบัติที่เป็นหัวใจหรือโครงสร้างที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ประการหนึ่งคือ การจ่ายทานบังคับ (ซะกาต) ที่ระบุให้มุสลิมทุกคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจตามศาสน บัญญัติ คือ มีทรัพย์สินเหลือจากปัจจัย 4 และถือครอบครองทรัพย์สินครบรอบ 1 ปี หรือตาม ช่วงเวลาที่ศาสนากำหนดต้องจ่ายซะกาตตามอัตราที่กาหนดไว้ คำว่า “ซะกาต” หมายถึง การซักฟอก การทาให้สะอาด บริสุทธิ์และการเจริญเติบโต วัตถุประสงค์ที่กำหนดให้มีการจ่ายซะกาตเพื่อเป็นการยืนยันถึงความศรัทธา และเพื่อซักฟอก ทรัพย์สินและจิตใจของผู้จ่ายซะกาตให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ รวมทั้งเป็นการกระจายทรัพย์สินให้กับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3