2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
80 กลุ่มคนที่ยากไร้หรือมีความจำเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ 1. คนอนาถา 2. คนที่อัตคัดขัดสน 3. ผู้เข้ารับ อิสลามใหม่ 4. ผู้บริหารการจัดเก็บและจ่ายซะกาต 5. ทาสที่ได้รับอนุมัติจากนายให้นำเงินไปไถ่ถอน 6. ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว 7. คนพลัดถิ่นหลงทาง 8. ผู้ที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ หรือทำการต่อสู้เพื่อรักษาไว้ ซึ่งหลักการอิสลาม ทานบังคับหรือซะกาตที่กล่าวถึง มี 2 ประเภท (บรรจง บินกาซัน, 2539)คือ 1. ซะกาตฟิตเราะฮฺ คือ ซะกาตของมุสลิมที่สามารถจะเลี้ยงตัวได้ ต้องจ่ายให้แก่คน ยากจนหรือคนอนาถาในเดือนรอมฎอน อันเป็นเดือนถือศีลอด โดยจ่ายเป็นอาหารหลักที่คนในท้องถิ่น กินกันเป็นประจำ ซึ่งได้แก่ข้าวสารประมาณ 3 ลิตร (หรืออาจให้เป็นเงินที่มีมูลค่าเท่ากับข้าวสาร จำนวนดังกล่าว) สำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวนั้นจะต้องรับผิดชอบการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺนี้แทน สมาชิกในครอบครัว การจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺมีความสำคัญถึงขนาดที่ว่าหากใครถือศีลอดแล้วไม่จ่าย ซะกาตฟิตเราะฮฺ อัลเลาะห์ก็จะยังไม่ได้รับการถือศีลอดของเขา 2. ซะกาตมาล หรือซะกาตทรัพย์สินอันเป็นซะกาตที่จ่ายจากทรัพย์สินที่สะสมไว้ หลังจากการใช้จ่ายครบรอบปีแล้วในอัตราที่ต่างกันตามประเภทของทรัพย์สินตั้งแต่ร้อยละ 2.5 ไปจนถึงร้อย ละ 20 การจ่ายซะกาตถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการละหมาด (บรรจง บินกาซัน, 2539)คือ ทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงการละหมาดในคัมภีร์อัลกุรอาน จะมีการกล่าวถึงการจ่ายซะกาต ทันทีโดยชาวมุสลิมถือว่าการทำละหมาดเป็นหลักปฏิบัติเพื่ออัลเลาะห์ ส่วนซะกาตเป็นหลักปฏิบัติสำหรับ มนุษย์ โดยเฉพาะประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจาชาติ เช่น ซาอุดิอารเบีย คูเวต อียิปต์ อิหร่าน เป็นต้น จะมีการเรียกเก็บซะกาตและนำไปรวบรวมไว้ที่คลังของรัฐอิสลามเพื่อเก็บรวบรวมซะ กาตนำไปแจกจ่ายกับผู้มีสิทธิได้รับ ซึ่งคลังของรัฐอิสลามเหล่านี้ได้กลายมาเป็นแหล่งทุนใหญ่ที่ แจกจ่ายมายังองค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ทั้งในประเทศของตนเองและประเทศอื่นๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยการฝ่าฝืนไม่จ่ายซะกาตต้องถูกลงโทษตามหลักศาสนา ผู้ใดละเลยการบริจาค ทานโดยไม่ช่วยเหลือเด็กกาพร้าและคนยากจนขัดสน ผู้นั้นจะประสบความทุกข์โศก จึงเป็นหน้าที่ของ มุสลิมทุกคนที่จะต้องจ่ายซะกาต ทาให้เงินรายได้จากการบริจาคซะกาตเป็นแหล่งที่มาที่สำคัญที่สุด ของเงินทุนสำคัญของศาสนา สอดคล้องกับผลการวิจัยของศุภมาส เศรษฐพงษ์กุล ที่พบว่าแหล่ง เงินทุนที่สำคัญของศาสนาอิสลาม คือ เงินบริจาค (ร้อยละ 27.4) การจัดหากิจกรรมหารายได้(ร้อยละ 13.1) จากราชการ (ร้อยละ 10.7) ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีรายได้จากเงินบริจาคที่ได้รับจาก ต่างประเทศ เงินสนับสนุนจากรัฐบาลไทย รวมถึงการจัดงานประจำปีเพื่อหารายได้อีกทางหนึ่งเช่น มัสยิดกมาลุลอิสลามจัดงานในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(4 -5 ธันวาคม) เป็นต้น นอกจากนั้นมัสยิดบางแห่งยังจัดหารายได้โดยการให้เช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างฯลฯ และจากงานวิจัยของสุรสิทธิ์ วชิรขจร พบว่าความสำเร็จที่ได้รับจากบริจาคเงินของมุสลิม ส่วนใหญ่มัก มีมูลเหตุจูงใจที่สำคัญจากความเชื่อพื้นฐานทางศาสนาและบารมีของผู้นำในแต่ละองค์กรหรือมัสยิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3