2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

81 มากที่สุด นอกจากนั้นการเห็นประโยชน์ของกิจกรรมที่แต่ละองค์กรหรือมัสยิดดำเนินการหรือการ อาศัยกลยุทธ์และการประชาสัมพันธ์ที่ดี (สุรสิทธิ์ วชิรขจร, 2544) ดังนั้น รายได้จากการบริจาคเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมของ ทุกศาสนารวมถึงศาสนาอิสลาม เนื่องจากองค์กรศาสนาหรือมัสยิดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ จึงไม่สามารถประกอบกิจกรรมที่เป็นการค้าหรือหากาไรได้ ต้องอาศัย รายได้ที่สำคัญจากศาสนิกมาเจือจุน การระดมทุนจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการนำมาบริหารจัดการศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่มักจัดทำในรูปแบบของคณะกรรมการบริหาร (เสาวนีย์ จิตต์หมวด, 2539) ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญกับศาสนสมบัติมากเพราะชาวมุสลิมถือว่า ศาสนาของเขาเป็นตัวแทนแห่งพระเจ้า ดังนั้นการจัดการศาสนสมบัติของศาสนาอิสลามจะถูกกำหนด ด้วยหน้าที่ตามกฎของศาสนาอยู่ในตัว ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ส่วนศาสนสถานอัน เป็น ศาสนสมบัติของอิสลามที่สำคัญ คือ มัสยิดหรืออาจจะเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น สุเหร่าบาลัยเซาะห์ มูซอลลา เป็นต้น ล้วนเป็นสถานที่ใช้ประกอบศาสนกิจ ให้ความรู้ด้านศาสนาเป็นสถานที่ฝึกหัดกอง ทหารและเป็นที่ชุมชนของบรรดานักรบมุสลิมก่อนจะออกสนาม เป็นศูนย์ของการเผยแผ่อิสลามเป็น สถานที่ทาหน้าที่เก็บและแจกจ่ายและการบริจาคต่างๆ เป็นสถานที่พบปะกันของคนในชุมชน เป็นต้น มัสยิดจึงเป็นสถานที่สาคัญสำหรับมุสลิม มีความผูกพันกับวิถีชีวิตและมีความใกล้ชิดในชีวิตประจาวัน อย่างมาก และเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมอิสลาม เป็นเอกลักษณ์แห่งความเป็นเอกภาพของอัล เลาะห์ (ตายูดิน อุสมาน, 2544) จึงสรุปได้ว่าการบริหารจัดการทรัพย์สินของมัสยิดในศาสนาอิสลามเป็นดำเนินการ บริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการ โดยมีอิหม่ามเป็นผู้นำ แต่อิหม่ามก็คงเป็นหนึ่งใน คณะกรรมการประจำมัสยิดและกรรมการประจำมัสยิดทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันดูแลมัสยิดและต้อง ร่วมกันรับผิดทุกคน หากเกิดความผิดพลาดหรือความเสียหายเกิดขึ้น ดังนั้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับ การบริหาร ศาสนสมบัติย่อมมีการกลั่นกรองที่ดีกว่าการตัดสินใจบริหารเพียงลำพังและมีการ ตรวจสอบดูแลอีกชั้นในลำดับต้น คือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ก่อนที่จะไปถึง คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินอันเป็นศาสนสมบัติของศาสนอิสลามมาเป็น กรณีศึกษาอีกกรณีหนึ่ง เพราะการบริหารงานของคณะกรรมการทุกคนมุ่งเน้นในการพัฒนาศาสน สมบัติโดยแท้จริง เนื่องจากศาสนาอิสลามไม่มีนักบวช แต่ถือว่าอิสลามมิกชนทุกคนเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลและ เผยแผ่ศาสนาเช่นกัน และคณะกรรมการประจำมัสยิดก็มีหน้าที่นั้น อีกทั้งยังเป็นผู้นำที่สำคัญโดย ตำแหน่งในมัสยิดอยู่แล้ว และยังต้องร่วมกันคิดและรับผิดชอบด้วยทุกคน จากที่มาของตำแหน่งนั้นยัง มาจากการคัดเลือกที่มีหลักเกณฑ์แน่นอน และคณะกรรมการที่คัดเลือกนั้นก็ยังมาจากการคัดเลือกอีก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3