2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

82 ทีหนึ่งด้วย แสดงให้เห็นว่าการดำรงตำแหน่งบริหารงานทางด้านศาสนาของอิสลามนั้นผ่านการ กลั่นกรองละเอียดอ่อน การบริหารงานด้วยผู้บริหารประเภทนี้จะได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพดีและการ ทำงานมาจากความเสียสละ จึงเห็นควรนำมาเป็นกรณีศึกษาเพื่อนามาปรับใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลทรัพย์สินอันเป็นศาสนสมบัติของวัดและการบริหารทรัพย์สินในพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี 2.14 หลักการบริหารจัดการศาสนสมบัติของพระพุทธศาสนา การบริหารจัดการเงินของวัดเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้คงเนื่องด้วยระบบ การเงินเข้ามามีอิทธิพลต่อวัด ประกอบกับเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการคณะสงฆ์ ขึ้น 2 ครั้ง วัดซึ่งต้องอยู่ภายใต้นโยบาย คำสั่งกฎ ระเบียบของกฎหมายคณะสงฆ์ในแต่ละฉบับ จึงเป็น สาเหตุให้การบริหารจัดการเงินของวัดเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าในยุคแรกที่การเงินเข้ามามบท บาทกับวัด ได้มีการวางรากฐานการบริหารจัดการเงินของวัดไว้อย่างเป็นระบบแล้วก็ตาม แต่ใน ปัจจุบันวัดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในกรุงเทพและภูมิภาคทั่วประเทศ มหาเถรสมาคมหรือกรมการ ศาสนาไม่สามารถที่จะดูแลควบคุมได้อย่างทั่วถึง และที่สำคัญพื้นฐานของการบริหารจัดการการเงิน ของวัดโดยทั่วไปอาจจะยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ (กฤติน จันทร์สนธิมา, 2557) เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การจัดการการเงินของวัดได้รับการเปลี่ยนแปลง ตามไปด้วย จากเดิมเป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารจัดการการเงินของวัด โดยกรมการศาสนาเป็นผู้ ออกกฎกระทรวงควบคุมดูแล แต่มิได้เข้ามาก้าวก่ายในการบริหารจัดการเหมือนอย่างที่กระทรวง ธรรมการเคยปฏิบัติมา เพียงทำหน้าที่ในการกำหนดแบบทะเบียนบัญชีแบบพิมพ์อื่นๆ และให้ คำแนะนำแก่วัดในการจัดการการเงิน ตลอดจนการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของวัด ส่วนการบริหาร จัดการเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสแต่ละวัด เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การจัดการการเงินของวัดได้รับการเปลี่ยนแปลง ตามไปด้วย จากเดิมเป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารจัดการการเงินของวัดโดยกรมการศาสนาเป็นผู้ ออกกฎกระทรวงควบคุมดูแล แต่มิได้เข้ามาก้าวก่ายในการบริหารจัดการเหมือนอย่างที่กระทรวง ธรรมการเคยปฏิบัติมา เพียงทำหน้าที่ในการกำหนดแบบทะเบียนบัญชีแบบพิมพ์อื่นๆ และให้ คำแนะนำแก่วัดในการจัดการการเงิน ตลอดจนการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของวัด ส่วนการบริหาร จัดการเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสแต่ละวัดเป็นผู้ควบคุมทิศทางการบริหารของวัดไว้ทั้งหมด 2 . 14 . 1 การบริหารจัดการศาสนสมบัติของศาสนาพุทธ ด้วยวัดมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และที่แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 31 บัญญัติไว้ จึงไม่อาจแสดง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3