2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

83 เจตนาและทำนิติกรรมได้ด้วยตนเองได้ จึงมีความจำเป็นต้องมีบุคคลธรรมดาเป็นผู้กระทำนิติกรรม ต่างๆ แทนวัด โดยมีรูปแบบโครงสร้างในการปกครองวัด สรุปได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1. เจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารแต่ผู้เดียว โดยเจ้าอาวาสจะเป็นผู้กำหนดหน้าที่ให้กับ พระภิกษุภายในวัดและสามารถแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือ กิจการต่างๆ ภายในวัดได้ตามจำนวนที่เห็นว่าเหมาะสม 2. เจ้าอาวาสอาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือสองคณะ ประกอบด้วย พระภิกษุและฆราวาส เพื่อทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย หากวัดใดมีคณะกรรมการมากกว่าหนึ่ง คณะคณะหนึ่งจะเป็นพระภิกษุ เรียกว่าคณะกรรมการสงฆ์ การที่พระภิกษุจะเป็นกรรมการวัดได้นั้นมี 2 วิธีคือ การตั้งขึ้นโดยตำแหน่งและตามที่เจ้าอาวาสเห็นสมควร กรรมการวัดจะแบ่งเป็นกลุ่มและฝ่าย เพื่อทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วยฝ่ายการศึกษา ฝ่ายการเผยแผ่ ฝ่ายก่อสร้าง และ ฝ่ายบริหาร เป็นต้น บางวัดเจ้าอาวาสไม่ได้แต่งตั้ง แต่อาจมาจากการแต่งตั้งของพระภิกษุภายในวัด ส่วนคณะกรรมการอีกคณะหนึ่งจะเป็นฆราวาส ซึ่งแต่งตั้งมาจากบุคคลที่มีความรู้หลายสาขา เพื่อให้ คำปรึกษาแก่คณะกรรมการสงฆ์ในการกำหนดนโยบายหรือการบริหารงานต่างๆ เพื่อความสะดวกใน การตัดสินใจของคณะกรรมการสงฆ์และเจ้าอาวาสอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ ภายในวัด ส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นและดำรงตำแหน่งตลอดชีวิตมีเพียงส่วนน้อยที่กำหนดวาระ การดำรงตำแหน่ง (ภิรมย์ จั่นถาวร, 2544) อย่างไรก็ตาม ในการบริหารงานของวัดตามโครงสร้างทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าว จะแบ่ง การบริหารงานออกเป็นฝ่ายต่างๆ ในแต่ละฝ่ายจะแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่รับผิดซอบงานโดยแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการในแต่ละฝ่ายขึ้นอยู่กับอำนาจดุลยพินิจของเจ้าอาวาส สรุปได้ดังนี้ 1) เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสเป็นผู้กระทำแทนวัด ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา31 วรรคสาม แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 การกระทำของเจ้าอาวาสจะถือว่าเป็นการกระทำแทนวัดโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อเจ้าอาวาสได้ กระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ ทั้งจะต้องกระทำภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของวัดด้วย ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงมอบหมายให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการทำสังฆกรรม ทรงให้มีอุปัชฌาย์ทำการอุปสมบทให้กับกุลบุตร พระภิกษุผู้ทำหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์ผู้ให้นิสสัยแก่ สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกก็มีลูกศิษย์เพิ่มมากขึ้น เมื่อมีพระภิกษุอยู่ในปกครองจำนวนมากอุปัชฌาย์ ย่อมกลายเป็นผู้ปกครอง ดูแลไปโดยปริยาย จึงเรียกว่า ภิกษุเจ้าอาวาสหรืออาวาสโกภิกขุเรียกย่อๆ ว่า เจ้าอาวาสหรือสมภาร (1) ความหมายเจ้าอาวาส กรมการศาสนาให้ความหมายเจ้าอาวาสว่าหมายถึง พระ สังฆาธิการระดับวัด เป็นผู้นำของพระภิกษุสามณรและคฤหัสถ์ที่มีอยู่ในวัด ทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3